วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทยกับการบูรณาการ



         ภาษาไทยกับการบูรณาการ



รศ.ดร.นิตยา  กาญจนะวรรณ

ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก

คณมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง







                 

                 บทนำ

          คำว่า บูรณาการซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนี้ เข้าใจกันว่าหมายถึงคำว่า integration คำนี้ถ้าเป็นศัพท์ทางสังคมวิทยาจะใช้ว่า บูรณาการรวมหน่วยมีความหมายว่า การนำหน่วยที่แยกๆ กันมารวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถ้าเป็นศัพท์คอมพิวเตอร์จะมีคำว่า integrated ซึ่งมีความหมายว่า เบ็ดเสร็จตัวอย่างเช่น “integrated circuit (IC)” “วงจรรวม, วงจรเบ็ดเสร็จ (ไอซี)

            ความหมายโดยรวมก็คือ การผสมผสานแห่งคุณสมบัติ หรือกลุ่มต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีเมื่อนำมาใช้กับภาษาก็น่าจะหมายความว่า การผสมผสานภาษากับแวดวงต่างๆ ได้เป็นอย่างดีหรือจะกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ การใช้ภาษาให้ได้อย่างเหมาะสมในสังคมปัจจุบันนั่นเอง


            ภาษาไทยก็อยู่ในลักษณะนี้เช่นกัน แต่เดิมมาเราก็มีความเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเท่านั้น เช่น  ทางการเมือง มีความเกี่ยวข้องกับมอญ เขมร ญวน พม่า มลายู ทางวัฒนธรรมมีความเกี่ยวข้องกับ จีน อินเดีย และในปัจจุบันนี้ เรามีความเกี่ยวข้องกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น ทางธุรกิจและเทคโนโลยี มีความเกี่ยวข้องกับอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ
ภาษามาตรฐาน ภาษาราชการ ภาษาประจำชาติ


ภาษากับความหมาย

            ความหมายอาจจะแบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ ความหมายโดยตรง (denotation) กับความหมายโดยนัย (connotation)


            ตัวอย่างเช่น ฟูมีความหมายแฝงว่า พองขึ้น อูดขึ้น” “ดิ่งมีความหมายแฝงว่า ตกลงมา

            ตัวอย่างเช่น ลิงหมายความว่า ซนอยู่ไม่สุข เหมือนลิง” “ควายหมายความว่า โง่ ทึ่ม ให้คนจูงจมูกได้ง่าย

            การแปรของภาษมีทั้งในเรื่องเสียง เรื่องคำ และเรื่องประโยค

            ตัวอย่างการแปรเสียง เช่น

            อย่างนี้แปรเป็น ยังงี้

            อย่างนั้นแปรเป็น ยังงั้น

            อย่างโน้นแปรเป็น ยังโง้น

            อย่างไรแปรเป็น ยังไง

            อย่างนี้นะแปรเป็น ยังเงี้ยะ

            นี่นะแปรเป็น เนี่ยะ

            การออกเสียง เหมือนเสียง [ch] หรือ [sh] ในภาษาอังกฤษ

            การออกเสียง เหมือนเสียง [s] ในภาษาอังกฤษ



            ตัวอย่างการแปรคำ เช่น

            คุณทองแดงคือ สุนัข ทรงเลี้ยง แต่ไอ้ด่างคือ หมา ข้างถนน

            ฟาร์มนี้มีโคขุน” “แถวบ้านฉันยังมีแขกเลี้ยงวัว

            แถวนี้มีโรงงานชำแหละสุกร  ฉันชอบกินหมู

            อาจารย์จะรับประทานอะไรคะ  เธอจะกินอะไร” “มึงจะแดกอะไร



            ตัวอย่างการแปรประโยค เช่น

            ตำรวจจับโจร” “โจรถูกตำรวจจับ

            บนท้องฟ้าวันนี้มีดาวสวย” “มีดาวสวยบนท้องฟ้าวันนี้



การเปลี่ยนแปลงคำ

            ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า ตูปัจจุบันใช้ว่า เราเช่น

            ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง

            คำว่า ตูนี้ ในสมัยสุโขทัยเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ หมายถึง เราซึ่งเป็นฝ่ายผู้พูดไม่รวมผู้ฟังแต่ในสมัยปัจจุบัน คำว่า เราหมายถึง คำใช้แทนชื่อคนหลายคนซึ่งรวมทั้งผู้พูดด้วย

            ในสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า กูแต่ปัจจุบันทรงใช้ว่า ข้าพเจ้าเช่น

            พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง

            ในสมัยก่อนคำที่หมายถึง คนรักใช้ว่า ชิ้นแต่ในปัจจุบันใช้ว่า แฟน



การเปลี่ยนแปลงประโยค

            ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทังกลมประโยคนี้อาจะเขียนใหม่ตามลักษณะประโยคปัจจุบันได้ว่า พี่ข้าพเจ้าตาย ข้าพเจ้าจึงได้เมืองทั้งหมด

            จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า การแปรของภาษาในด้านเสียง คำ และประโยคนั้นไม่มีผลทางด้านความหมายมากนัก แต่จะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ใช้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับความหมายมากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงในด้านคำ


การแปรเสียง

            คำซึ่งใช้สื่อสารกันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นในทางสัทศาสตร์าอาจจะมีการแปรเสียงได้หลายแบบ ดังนี้

ก) การแปรเสียงแบบกลมกลืนเสียง (assimilation)

                        การแปรเสียงแบบนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเสียงลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเสียงที่อยู่ใกล้กัน โดยเสียงหนึ่งมีอิทธิพลต่ออีกเสียงหนึ่ง โดยทั่วไปเกิดขึ้นที่ช่วงต่อระหว่างพยางค์ เช่น อย่างไร กลายเป็น ยังไง

            การกลมกลืนเสียงในทำนองนี้ยังปรากฏในคำไทยอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น

            ก้นโค้ง              กลายเป็น           ก้งโค้ง

            กุ้งก้ามคราม        กลายเป็น           กุ้มก้ามกราม

            คนไร                กลายเป็น           ใคร

            ถ้วยชามรามไห   กลายเป็น           ถ้วยชามรามไหม

            ทำไร                 กลายเป็น           ทำไม


            หนไร                กลายเป็น           ไหน

            หรือไม่              กลายเป็น           ไหม

            อกตรม              กลายเป็น           อกกรม

            อันคั่นคู่             กลายเป็น           อังคั่นคู่

            อิ่มปี้พีมัน           กลายเป็น           อิ่มหมีพีมัน



ข) การแปรเสียงแบบผลักเสียง (dissimilation)

            การแปรเสียงแบบนี้เป็นลักษณะที่ตรงข้ามกับการกลมกลืนเสียง คือการทำให้เสียงที่เหมือนกับแตกต่างกัน เช่น

            คำแหง              กลายเป็น           กำแหง

            คุมเหง               กลายเป็น           กุมเหง

            ทั้งนี้เพราะเสียง [ห] ในพยางค์ที่สองผลักเสียง [ห] ในพยางค์แรกให้หายไป


                        ชมพู                 ออกเสียงเป็น      จมพู

                        ชมพู่                 ออกเสียงเป็น      จมพู่

                        ข่มเหง               ออกเสียงเป็น      กุมเหง

                        คุมฝอย              ออกเสียงเป็น      กุมฝอย

            ออกเสียงแต่ ห พยัญชนะเสียงเบาหายไป

            ครับ                  ออกเสียงเป็น      ฮะ

            ที่กลับกันก็มีคือ

                        กี่                      ออกเสียงเป็น      ขี่

                        กบฎ                  ออกเสียงเป็น      ขบถ

                        ชักกะเย่อ           ออกเสียงเป็น      ชักคะเย่อ

                        กระยาสารท       ออกเสียงเป็น      คยาสาด



ค) การแปรเสียงแบบลดหน่วยเสียง (haplology)

            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการตัดเสียงพยัญชนะหรือสระบางเสียงออกไปหรือนำเสียงอื่นเข้ามาแทนที่ เมื่อไม่เน้นเสียงพยางค์นั้น เช่น

            คำว่า film จากภาษาอังกฤษ เมื่อมาสู่มาภาษาไทย คนไทยออกเสียง [lm] ควบกันไม่ได้จึงทำเสียง [อิ] ให้ยาวขึ้น กลายเป็น [อี] ออกเสียงเป็น [ฟีม]

            ฉันนั้น              ออกเสียงเป็น      ฉะนั้น

            ต้นไคร้              ออกเสียงเป็น      ตะไคร้

            ตัวขาบ               ออกเสียงเป็น      ตะขาบ

            ยับยับ                ออกเสียงเป็น      ยะยับ

            ยายกับตา           ออกเสียงเป็น      ยายกะตา

            รื่นรื่น                ออกเสียงเป็น      ระรื่น

            สายดือ               ออกเสียงเป็น      สะดือ

            หมากขาม           ออกเสียงเป็น      มะขาม

            อันไร                ออกเสียงเป็น      อะไร

            อีกประการหนึ่ง  ออกเสียงเป็น      อนึ่ง



ง) การแปรเสียงแบบเพิ่มหน่วยเสียง (addition of phonemes)

            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการนิยมความไพเราะในการออกเสียงคำสามพยางค์จากภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งแพร่มาถึงคำในภาษาไทยด้วย คำสองพยางค์จึงกลายเป็นสามพยางค์ โดยการนำเอาเสียงสะกดในพยางค์แรกเป็นเสียงพยัญชนะต้นตามด้วย [อะ] เป็นพยางค์ที่สองเติมเข้าไป เช่น

            ซังตาย               ออกเสียงเป็น      ซังกะตาย

            สักเดี๋ยว             ออกเสียงเป็น      สักกะเดี๋ยว

            ตกใจ                 ออกเสียงเป็น      ตกกะใจ หรือต๊กกะใจ

            นกยาง               ออกเสียงเป็น      นกกะยาง

            นัยนี้                  ออกเสียงเป็น      นัยยะนี้

            บาดจิต               ออกเสียงเป็น      บาดทะจิต

            บานโรค                        ออกเสียงเป็น      บานทะโรค

            ยมบาล               ออกเสียงเป็น      ยมพบาล

            สักนิด               ออกเสียงเป็น      สักกะนิด

            สักหน่อย           ออกเสียงเป็น      สักกะหน่อย

            หกล้ม                ออกเสียงเป็น      หกกะล้ม



จ) การแปรเสียงแบบสับเสียง (meththesis)

            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการสับที่ของหน่วยเสียงกับเสียงที่ตามมา เช่นตะกร้อ สับเสียง เป็น กระต้อ เครื่องมือดับไฟมีด้ามยาวเช่นเดียวกับตะกร้อสอยผลไม้ตะกรุด สับเสียงเป็น กระตรุด หรือ กะตุด มะละกอ สับเสียงเป็น ละมะกอ พูดแถบตำบลเกาะเกร็ดและบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด นนทบุรี นุ่ม สับเสียงเป็น มุ่น พบในวรรณคดีไทย ขลา ในภาษาเขมร หมายถึง เสือสับเสียงเป็น ขาล หมายถึง ปีนักษัตรที่มีเสือเป็นเครื่องหมาย สาวสะ ใน แม่ศรีสาวสะ ก็น่าจะเป็นการสับเสียงจาก สะสาว ซึ่งเป็นการซ้ำคำ สาวสาว แล้วก่อนเป็น สะสาว



ฉ) การแปรเสียงแบบทำให้เป็นเสียงที่เพดานแข็ง (palatalization)

            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการเปลี่ยนเสียงจากมีฐานที่ปุ่มเหงือกไปยังฐานที่เพดานแข็งในคำบางคำในภาษาไทย เช่น เชียว มาจาก ทีเดียว

            ขอให้สังเกตว่าคำว่า ทีเดียว นี้ บางครั้งก็กลายเป็น เทียว ในลักษณะกลมกลืนเสียง



ช) การแปรเสียงแบบเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ (internal change)

            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในคำ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะและเสียงสระ เช่น

            ข้างนอก            ออกเสียงเป็น      หั้งนอก

            เข้ามาเถิด           ออกเสียงเป็น      ข้ามาเหอะ

            คึก                    ออกเสียงเป็น      ฮึก

            ทั้งสามกรณีเป็นการลดส่วนของเสียงพยัญชนะให้เหลือไว้แต่เสียงหนัก [ห] ในภาษาไทยนั้นเมื่อคำหรือพยางค์ใดไม่ออกเสียงเน้น เสียงของสระนั้นก็อาจจะเปลี่ยนเป็น [อะ] เช่น

            คุณจะไปไหม     ออกเสียงเป็น      คุณจะไปมะ

            ตั้งแต่เช้า            ออกเสียงเป็น      ตั้งตะเช้า

            เมื่อแต่กี้             ออกเสียงเป็น      เมื่อตะกี้



ซ) การแปรงเสียงแบบเสียงเลื่อนรวม (fusion)

            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการที่พยัญชนะสุดท้ายของคำหน้าเลื่อนรวมเข้ากับเสียง [ห] ของคำถัดไป เช่น หนวกหู กลายเป็น หนวกขู โดยที่ [ก] ซึ่งเป็นเสียงสุดท้ายของ หนวก รวมเข้ากับ [ห] ในคำว่า หู เกิดหน่วยเสียงใหม่ขึ้น นั่นคือ ค หรือ ข

            ขอให้สังเกตว่า หนวกขู อาจจะเปลี่ยนไปเป็น หนกขู เพราะการเปลี่ยนเสียงสระภายในคำดังกล่าวไว้ในข้อ ช) ก็ได้

            จากลักษณะการแปรเสียงที่กล่าวไว้ในข้อ ก) ถึง ซ) ทำให้อธิบายปรากฏการณ์ดังต่อไปนี้ได้ดังนี้

            ดิฉัน แปรเสียงเป็น ดิชั้น (เน้นพยางค์หลัง) และในที่สุดก็กลายเป็น เดี๊ยน เพราะการลดหน่วยเสียง โดยที่เสียง [ช] หายไป ทำให้สระจากพยางค์หน้าและพยางค์หลังรวมกันเป็นสระผสมในกรณีที่ ดิฉัน กลายเป็น ดั้น ไปนั้นก็เกิดจากการลดหน่วยเสียงเช่นกัน โดยที่สระหน้าหายไปพร้อมกับเสียง [ช] และกรณีที่ ดิฉัน กลายเป็น อะฮั้น นั้นก็เกิดจาการลดเสียงพยางค์หน้าลงเหลือ อะ และลดเสียงลมหายใจของพยางค์หลัง ฉัน หรือ ชั้น จึงกลายเป็น ฮั้น

            ครับ แปรเสียงเป็น คับ เนื่องจากไม่ออกเสียงควบกล้ำ จากนั้นลดเสียงลมหายใจออกไปจึงกลายเป็น ฮับ และลดเสียงตัวสะกดลงไปอีกจึงกลายเป็น ฮะ สำหรับคนบางกลุ่มอาจจะยืดเสียงให้ยาวขึ้น จึงกลายเป็น ฮ้า

            มหาวิทยาลัย ลดเสียงลงไปกลายเป็น มหาทลัย (4 พยางค์) หรือ มหาลัย (3 พยางค์) จนที่สุดกลายเป็น หมาลัย (2 พยางค์)

            โรงพยาบาล ลดเสียงลงไปกลายเป็น โรงพยาบาล (3 พยางค์)

            พิจารณา ลดเสียงลงไปกลายเป็น พิณา (2 พยางค์)


การเปลี่ยนแปลงคำ

                จากการแปรเสียงที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นจะเห็นไว้ คำที่ออกเสียงได้หลายอย่างนั้น บางคำก็ยังใช้ควบคู่กันอยู่ โดยขึ้นอยู่กับผู้พูด ผู้ฟัง และสถานการณ์การใช้ภาษา แต่บางคำก็ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นคำที่ใช้อยู่ในสมัยปัจจุบัน ส่วนคำเดิมก็กลายเป็นคำโบราณที่เลิกใช้แล้ว หรือคำสันนิษฐาน เช่น อิ่มปี้พีมัน กุ้มก้ามคราม ทำร วันยันค่ำ อันคั่นคู่ พรุ่กนี้ ก้นโค้ง คนไร หนไร ตัวขาบ สายดือ ต้นไคร้ หมากขาม อันไร เมื่อแต่กี้ ฯลฯ

            การแปรเสียงที่ทำให้เกิดคำใหม่ยังคงปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้ เช่น

            กระโปรง + กางเกง                     กลายเป็น           กระเปรง

            ขว้าง + เหวี่ยง                กลายเป็น           เขวี้ยง

            งง + เซ็ง                        กลายเป็น           เซ็ง

            ฉุย + ลุย                        กลายเป็น           ฉลุย

            เชียร์ + เลีย                     กลายเป็น           ชเลียร์ หรือ เชลียร์

            ซีเรียส + เครียด               กลายเป็น           ซีเครียด

            เดี๋ยว + พ่อ + เตะ            กลายเป็น           เดี๋ยวพ่อด

            นี่ + นะ                         กลายเป็น           เนี่ยะ

            นิ้ง + เฉียบ                     กลายเป็น           เนี้ยบ

            แม่ + มึง                        กลายเป็น           แม่ง

            นอกจากเรื่องการแปรเสียงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นคำใหม่แล้ว ในภาษาปัจจุบันยังมีการเปลี่ยนแปลงคำอยู่อีก 6 แบบ คือ การสร้างคำซ้อน การสร้างคำซ้ำ การสร้างคำประสม การนำคำมาใช้ในความหมายอื่น การบัญญัติศัพท์ และการสร้างคำใหม่






ข) การสร้างคำซ้ำ

            คำซ้ำคือคำคำเดียวกันนำมากล่าว 2 ครั้ง มีความหมายเน้นหนักหรือบางทีต่างกันไปกับคำเดี่ยวเพียงคำเดียว จึงถือว่าเป็นคำสร้างใหม่ มีความหมายใหม่ทำนองเดียวกับคำซ้อน ต่างกันก็แต่เพียงคำซ้ำใช้คำคำเดียวกันซ้อนกันเท่านั้น และเพื่อให้รู้ว่าคำที่กล่าว 2 ครั้งนั้นเป็นคำซ้ำ ไม่ใช่คำเดี่ยวๆ เรียงกัน จึงต้องคิดเครื่องหมายกำกับไว้ ในภาษาไทยใช้ไม้ยมกแทนคำท้ายที่ซ้ำกับคำต้น

            เช่น

            คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด (เบิร์ดๆ)

            เด็กๆ เล่นอยู่ในสนาม

            นั่งในๆ

            ผิดๆ ถูกๆ ก็ไม่เป็นไร

            มะม่วงลูกเล็กๆ

            รถตุ๊กตุ๊ก (รถตุ๊กๆ)

            รูงูๆ ปลาๆ ทำอะไรไม่ได้



ค) การสร้างคำประสม

            คำประสมคือคำที่มีคำ 2 คำ หรือมากกว่านั้นมาประสมกันเข้าเป็นคำใหม่อีกคำหนึ่ง คำที่ประสมกันเข้าเป็นคำใหม่นี้ แต่ละคำไม่ได้มีความหมายคล้ายกันอย่างคำซ้อน ความหมายสำคัญอยู่ที่คำต้น ส่วนคำตามมาเป็นส่วนขยาย เจตนาในการสร้างคำประสมก็เป็นเช่นเดียวกับคำซ้อน คือให้ได้มีคำใหม่ใช้ในภาษา เช่น

            มดแดง รถเร็ว น้ำแข็ง ผ้าไหว้ ไม้เท้า โต๊ะกินข้าว เรือนต้นไม้ คนกลาง เมืองนอก เรียงเบอร์ พิมพ์ดีด สามล้อ กำลังกิน ข้างถนน หัวนอก หน้าม้า ใจเย็น ลูกกวาด แม่งาน แม่ทัพ ยิงปืน ขุดหลุม ตายใจ ออกตัว นอกคอก น้อยใจ อวดดี ตกลง คอแข็ง ฯลฯ

            คำใหม่พร้อมความหมายใหม่ประเภทนี้ก็ยังคงเกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่เสมอ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส แท็กซี่บุคคล รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ รถตู้โดยสารปรับอากาศร่วมบริการ รถเอกชนร่วมบริการ ฯลฯ คำบางคำเคยมีใช้อยู่แล้ว แต่ผู้ใช้ภาษาสมัยใหม่ก็อาจจะสร้างคำอื่นขึ้นมาใช้คู่ไปด้วย เช่น นักชก (นักมวย) ท่านเปา (กรรมการ หรือผู้พิพากษา) ฯลฯ



ง) การนำคำมาใช้ในความหมายอื่น

            การนำคำมาใช้ในความหมายอื่นนี้ หมายถึงการนำคำที่เคยมีความหมายเป็นที่ยอมรับกันอยู่ในสังคมอยู่แล้วมาใช้ในความหมายใหม่ มีทั้งที่ใช้โดยเจตนาและโดยความไม่รู้ เช่น

            เขาเป็นบรมครูแห่งวงการเพลง

            ค่ายเพลงค่ายนี้มีศิลปินใหม่หลายตัว

            ท่านชวน  หลีกภัยเคยเป็นทั้งหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าฝ่ายค้าน

            เข้าเป็นผู้กำกับที่มีฝีมือจัดจ้าน

            จรวดพร้อมที่จะลาโลกไปสู่ดวงจันทร์

            เข้าหาบ้านที่ชอบได้แล้ว เขาก็ไปที่ชอบ

            ของฝากชิ้นนี้ผมฝากไม่ได้หรอกครับ ต้องให้กับเจ้าตัว เพราะมันเป็นของลับ

            คุณยายตกอันต้องขายของเก่ากิน

            เศรษฐีบ้านนั้นติดเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับขึ้นบันไดสูง

            เกิดน้ำท่วมใหญ่ผู้คนต้องพากันขึ้นไปหลับนอนอยู่บนถนน

            นอกจากนี้แล้วในสังคมบางกลุ่ม เช่น กลุ่มวัยรุ่น ก็อาจจะมีการใช้คำในความหมายอื่นโดยเจตนา เช่น

            คนนี้เป๊ะเลย (คนนี้เป็นคนรักอย่างแน่นอน)

            คนนี้เป็นสต๊อกของฉัน (คนนี้เป็นเด็กๆ ในสังกัด หรือเป็นคนรักคนหนึ่งของฉัน)


            ในสถานการณ์ที่ต่างกันนั้นผู้ใช้ภาษาจะใช้ภาษาที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป รูปแบบหรือลักษณะของวิธภาษาที่แตกต่างกันตามสถานการณ์การใช้ภาษานี้เรียกว่า วัจนลีลา (style / speech style)

            วัจนลีลาในสังคมไทยแบ่งออกได้กว้างๆ เป็น 2 ระดับ คือ วัจนลีลาเป็นทางการ (ระดับสูง) และ วัจนลีลาไม่เป็นทางการ (ระดับต่ำ) วัจนลีลาเป็นทางการ คือรูปแบบภาษาไทยที่มีลักษณะสมบูรณ์ในทุกด้าน เช่น คำว่า มหาวิทยาลัย ออกเสียงอย่างชัดเจนว่า มะ หา วิด ทะ ยา ลัย คำว่า อย่างนี้ ออกเสียงอย่างชัดเจนว่า อย่าง นี้ รูปประโยคก็สมบูรณ์ ไม่มีการละประธาน วัจนลีลาประเภทนี้ใช้ในการกล่าวสุนทรพจน์ กล่าวรายงานต่อบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่า เป็นต้น ส่วนวัจนลีลาไม่เป็นทางการนั้น มีลักษณะตรงกันข้าม คำว่า มหาวิทยาลัย อาจจะกลายเป็น มะหาลัย คำว่า อย่างนี้  อาจจะกลายเป็น ยังงี้ ประโยคที่พูดก็อาจจะละประธานได้ วัจนลีลาประเภทนี้ใช้พูดกับคนที่ใกล้ชิดหรือต่ำกว่า หรือพูดเรื่องเล่นๆ ไม่จริงจัง

            วัจนลีลาที่ต่างกันเกิดจากการใช้รูปภาษาให้ต่างกันตามสถานการณ์ อันเกิดจากปัจจัย 4 ประการรวมกันคือ กาลเทศะ เรื่องที่พูด ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง และทัศนคติของผู้พูด


ทำเนียบภาษาที่เกิดจากวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน

            ทำเนียบภาษาที่เกิดจากวัตถุประสงค์ที่ต่างกันอาจเรียกว่า ภาษาเฉพาะกิจก็ได้ ตัวอย่างเช่น ภาษาเพื่อขอบคุณ ขอโทษ ขอร้อง ทักทาย อำลา ถามเอาข้อมูล ฯลฯ ภาษาเฉพาะกิจที่เด่นๆ ของไทย ได้แก่ ภาษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อโน้มน้าวชักจูงผู้ฟังให้เชื่อหรือคล้อยตามเรียกว่า ภาษาโฆษณา ภาษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งข้อเท็จจริงหรือรายงานเหตุการณ์ตางๆ ซึ่งเรียกว่า ภาษาข่าว ภาษาที่ใช้เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบให้คนยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งเรียกว่า ภาษากฎหมาย ภาษาที่ใช้เสนอความจริงอย่างชัดเจน ไม่มีอคติ ซึ่งเรียกว่า ภาษาวิทยาศาสตร์ และภาษาที่ใช้เพื่อการค้าขายหรือดำเนินธุรกิจการธุรกิจต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ภาษาธุรกิจ เป็นต้น



ทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้สื่อต่างประเภทกัน

                ภาษาที่ใช้อาจแปรไปตามวิธีการสื่อสารด้วย ภาษาที่สื่อทางโทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร จดหมาย หรือพูดตัวต่อตัวย่อมมีลักษณะต่างกัน เพราะสื่อเป็นตัวบังคับให้ภาษาที่ใช้มีรูปลักษณะต่างกันไป

                ภาษาโฆษณาอาจจะใช้ภาษาต่างประเทศ และคำสร้างใหม่มากกว่าภาษาประเภทอื่น เพราะต้องการโน้มน้าวผู้บริโภค ภาษาที่ใช้ทางโทรศัพท์อาจจะเยิ่นเย้อและใช้ประโยคซ้ำมากกว่าการพูดกันต่อหน้า เพราะเป็นการสื่อชนิดที่ไม่เห็นหน้ากัน ในขณะเดียวกัน การใช้ภาษาในการเขียนจดหมาย แม้จะใช้ภาษาพูด แต่เนื่องจากมีเวลาคิดมากกว่า จึงมีภาษาเขียนเข้ามาปะปน ส่วนภาษาในโทรเลขจะมีลักษณะสั้นพอได้ใจความ ในปัจจุบันแม้จะไม่มีผู้นิยมใช้โทรเลขแล้ว แต่ลักษณะภาษาที่ใช้ก็ยังติดเข้ามาในสื่อแบบใหม่ นั่นคือ การสื่อสารทางอีเมล หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีลักษณะสั้น กระชับ

                ในข้อที่ว่าด้วยเรื่องการใช้คำนั้น จะเห็นได้ว่าการแปรเสียงในคำ และการเปลี่ยนแปลงคำนั้น แม้บางเรื่องจะเป็นธรรมชาติของภาษา แต่เมื่อจะนำมาใช้ในทำเนียบภาษาประเภทต่างๆ ก็จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสมด้วย ยกเว้นบางคำซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาที่ใช้ในปัจจุบันแล้ว เช่น ใคร ไหน ตะขาบ สะดือ ตะไคร้ มะขาม อะไร ฯลฯ



การเขียน การอ่าน การพูด

                ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความหมายที่มีระบบ ใช้เป็นสื่อกลางเพื่อแสดงความคิดของมนุษย์ และเป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชนที่ใช้ภาษาเดียวกัน

                เมื่อเริ่มมีกลุ่มสังคมขึ้นมาในโลกนี้ การสื่อสารแรกสุดก็คือการใช้ภาษาพูด ต่อมาเมื่อมนุษย์ในสังคมนั้นต้องการบันทึกสิ่งที่ได้พูดไปแล้ว หรือต้องการสื่อในยามที่มิได้เห็นหน้ากันมนุษย์จึงพัฒนาภาษาเขียนขึ้นมา และจำเป็นต้องกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้คนในสังคมเดียวกันสามารถใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือให้สามารถสื่อให้ตรงกันได้ เราจึงมีการกำหนดการเขียนรูปคำ และรูปประโยค และต้องมีการสืบทอดกระบวนการด้วยการเรียนการสอน


บทสรุป

                ภาษาคือเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ การที่จะสื่อสาร ได้ดีมีประสิทธิภาพนั้นก็คือการใช้ภาษาที่สามารถสื่อกันได้รู้เรื่อง ในแต่ละสังคมถึงแม้ว่าจะมีการใช้ภาษาหลายภาษา แต่ก็ย่อมต้องมีภาษาที่สังคมนั้นสื่อสารกันได้รู้เรื่องมากที่สุด ในสังคมโลกภาษาที่ใช้สื่อสารกันในวงการธุรกิจและเทคโนโลยีคงจะไม่มีภาษาใดที่ได้รับความนิยมมากไปกว่าภาษาอังกฤษ แต่ในสังคมไทยไม่มีภาษาใดที่คนไทยจะเข้าใจได้มากไปกว่าภาษาไทย ชาวต่างประเทศที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับคนไทยให้ได้ผลดีที่สุดก็ยังต้องเรียนภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจคนไทยในสังคมไทยได้ แม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังต้องมีภาษาไทยเอาไว้สื่อสารกับคนไทย

                คน ไทยทุกสาขาอาชีพหนีไม่พ้นที่จะต้องสื่อสารกับคนไทยกันเองด้วยภาษาไทย ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับคนต่างชาติหรือเพื่อแสวงหา ความรู้ในโลกกว้างก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการสนับสนุนให้คนไทยเรียนภาษาต่าง ประเทศ หรือมีความจำเป็นต้องยืมคำภาษาต่างประเทศใหม่ๆ มาใช้ แต่ภาษาที่ใช้สื่อก็ยังคงเป็นภาษาไทยอยู่นั่นเอง ทว่าภาษาไทยในปัจจุบันนี้อาจจะมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกับเมื่อร้อยปีหรือห้า สิบปีก่อน แต่โดยเนื้อแท้ก็ยังคงเป็นภาษาไทยอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาไทยจึงผสมผสานอยู่ในสังคมไทยอย่างแยกไม่ออก นี่คือ บูรณาการแบบธรรมชาติที่ผู้ใช้ภาษาบางคนอาจจะนึกไม่ถึง

                ในด้านการสืบค้น ถึงแม้ว่าข่าวสารข้อมูลในปัจจุบันจะเต็มไปด้วยภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ แต่ข้อมูลภาษาไทยก็ยังนับได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีค่ายิ่งต่อคนไทย ในด้านการสืบค้นนี้ ภาษาเขียนนับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง คนไทยในภาคต่างๆ หรือแม้แต่ในภาคเดียวกันก็อาจจะออกเสียงต่างๆ กันไปได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้รู้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็คือภาษาเขียน โดยเฉพาะการสะกดการันต์ที่อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ฉะนั้นการเขียนคำตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และการสะกดการันต์ตามอักขระวิธีไทยจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ค้นหาข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง

                การเขียน การอ่าน และการพูดภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสมนอกจากจะทำให้สื่อสารและสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้เห็นภูมิปัญญาอันภูมิฐานของผู้ใช้ภาษาอีกด้วย

                เสื้อผ้าซึ่งตัดเย็บอย่างประณีตช่วยเสริมบุคลิกของผู้สวมใส่ฉันใด การใช้ภาษาอย่างถูกต้องเหมาะสมก็เสริมบุคลิกของผู้ใช้ภาษาฉันนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น