วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย


บทที่ 1

                                             บทนำ



            กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของสังคม กล่าวคือสังคมซึ่งเป็นที่รวมของคนหมู่มากอาจมีทั้งคนดีและคนเลยปะปนกันอยู่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข ระเบียบหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เรียกรวมๆ กันว่าระเบียบของสังคม ซึ่งได้แก่ จารีตประเพณีและกฎหมาย

            จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยปกติแล้วขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่มุ่งถึงการกระทำภายนอกของมนุษย์เป็นกฎเกณฑ์ที่บังคับเอากับพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา จารีตประเพณีนั้นอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่นการที่เราพบบุคคลอื่น อาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เราเข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงานในเรื่องของการหมั้น อย่างของไทยเรามีการที่จะต้องไปสู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมากมีสินสอด มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิง ก็ถือว่าเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่ง

            กฎหมาย มีความสัมพันธ์กับจารีตประเพณีหลายประการด้วยกัน ประการแรก กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นระเบียบของสังคมเหมือนกันมี จุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสุข แต่กฎหมายอาจจะมีลักษณะแตกต่างจากกฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ ค่อนข้างจะรุนแรงและเด็ดขาดกว่าสามารถนำมาใช้บังคับให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม ได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นมาเองได้เหมือนกับ ปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตกแดดออกฟ้าร้องฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดที่ช่วยหล่อหลอมให้กฎหมายกลายมาเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ บังคับอยู่ในสังคม จุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายเหล่านี้ก็คือศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี นั่นเอง

            จารีต ประเพณีนี้ก็อาจจะนำมาบัญญัติไว้เป็นกฎหมายในภายหลังก็ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจจะมีการโต้แย้งทะเลาะวิวาทกันในเรื่องของจารีตประเพณี รัฐก็อาจจะเข้ามาควบคุม เช่น อาจจะมีการไปแย่งชิงลูกเมียหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็อาจจะมีความรู้สึกรุนแรง โกรธแค้น ก็อาจจะใช้กำลังเข้าไปต่อสู้เพื่อป้องกันช่วยเหลือตัวเอง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เกิดความสับสนยุ่งยาก ดังนั้นรัฐก็อาจจะเข้าไปแก้ไขโดยการที่จะไปดำเนินการเอากับผู้กระทำความผิด นั้นเอง เอาตัวมาลงโทษอาจจะมีการจำคุก กักขัง ประหารชีวิต หรืออาจจะขับออกไปจากสังคม คือ เนรเทศออกไปก็ได้ ดังนั้นการที่รัฐเข้ามาดำเนินการกับผู้ที่กระทำความผิดตามจารีพประเพณีเช่น นี้ก็คือว่าเป็นการเริ่มต้นการใช้อำนาจของสังคมเข้ามาบังคับตามประเพณี ซึ่งเรียกว่าเป็นกฎหมายประเพณีก็ได้ กฎหมายประเพณีเกิดขึ้นในระยะแรกๆ เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่รู้กันในบรรดาสมาชิกของสังคมว่าจะต้องไม่ไปยุ่ง เกี่ยวกับลูกเมียของคนอื่น ไม่ไปทำร้ายร่างกายของคนอื่น ไม่ไปแย่งชิงทรัพย์สินของอื่น หรือจะแต่งงานกับบุคคลที่เรารักเราชอบต้องปฏิบัติตามประเพณี คือ ต้องไปสู่ขอกับพ่อแม่ของเขาสิ่งเหล่านี้ก็ประพฤติปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน และก็มีเพิ่มเขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะเป็นการยากที่ไม่สามารถที่จะจดจำจารีตประเพณีนั้นได้อย่างครบถ้วน ก็เลยมีการนำเอาจารีตประเพณีนั้นมาบันทึกไว้เป็นตัวอักษรหรือตัวหนังสือก็ ได้


ความหมายของกฎหมาย

            กฎหมายนั้นอาจมีความหมายได้หลายอย่างสุดแต่ว่าเราจะมีแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้นอย่างไร ซึ่งจะต้องกล่าวถึงปรัชญาทางกฎหมายประกอบด้วย เพราะว่า แนวความคิดในเรื่องนี้มีอยู่หลากหลาย คือ

            ความหมายของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย

            สำหรับประเทศไทยนั้น เนื่องจากมีการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการส่งนักกฎหมายไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษเป็นจำนวนมาก นักกฎหมายชั้นนำในอดีตหลายท่านจบมาจากประเทศอังกฤษ รวมทั้งพระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 พระองค์หนึ่ง คือ  พระ บรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของกฎหมายไทย ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษพระองค์ได้นำหลักกฎหมายของประเทศ อังกฤษมาใช้ในประเทศไทยหลายลักษณะด้วยกันรวมทั้งได้ทรงนำมาสอนในโรงเรียนสอน กฎหมายที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นมาด้วย ดังนั้นหลักกฎหมายก็ดี แนวความคิดของอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายก็ดี แนวความคิดของจอห์น ออสติน ก็ดี ก็            ตามความหมายของกฎหมายที่ กรมหลวงราชบุรีฯ ได้ให้ไว้ กฎหมายคือคำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินที่มีต่อ           
ลักษณะของกฎหมาย

            จากความหมายดังกล่าว สามารถแยกลักษณะของกฎหมายออกได้เป็น 5 ประการด้วยกันคือ

            1) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ

            คำ สั่งหรือข้อบังคับหมายถึงการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะ เป็นการบังคับให้บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำการหรืองดเว้นกระทำการไม่ใช่การประกาศ เชิญชวนเฉยๆ เช่นถ้าหากรัฐบาลเชิญชวนให้ประชาชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือให้ประชาชนใช้ สินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศเพื่อเป็นการสงวนเงินตราต่างประเทศไว้ลักษณะเป็น การเชิญชวน ไม่ใช่ลักษณะคำสั่งหรือข้อบังคับ ก็จะไม่ใช่เป็นกฎหมายไปกฎหมายมีลักษณะที่สั่งให้กระทำ เช่น ห้ามกระทำ หรืออาจจะให้กระทำก็ได้ เช่นห้ามฆ่าคนห้ามลักทรัพย์ห้ามข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น

            2) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฐาธิปัตย์

            คำว่ารัฐาธิปัตย์ มาจากคำว่า รัฐาอธิปัตย์ ซึ่งแปลว่าผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศกฎหมายจะต้องมาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการปกครองในระบบใดก็แล้วแต่ ถ้าเป็นการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบรมราชโองการหรือคำสั่งของพระมหากษัตริย์ก็จะเป็นกฎหมาย เพราะมาจากอำนาจสูงสุด ถ้าเป็นการปกครองในระบบเผด็จการที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร มีคณะปฏิวัติเข้ามาปกครองประเทศคำสั่งของคณะปฏิวัติก็ถือว่าเป็นกฎหมายได้ เพราะเขาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น

            ถ้าเป็นการปกครองในระบบประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าอำนาจสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการและประชาชนก็ใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภา ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาจากสภานิติบัญญัติก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่ออกมาจากผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ก็คือประชาชนเช่นเดียวกัน

            3) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป

            กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปนั้น หมายความว่ากฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้วจะใชับังคับได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกำหนดให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องปฏิบัติตามเท่านั้น แต่กฎหมายจะใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนเสมอภาค บุคคลทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน

            4) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป

            คำว่าใช้บังคับได้เสมอไปนั้น หมายถึง เมื่อกฎหมายได้ประกาศใช้ออกมาแล้วก็จะใช้ได้ตลอดไปจนกว่ามีการยกเลิกกฎหมายนั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามหรือกฎหมายฉบับใดเมื่อประกาศใช้มาแล้ว อาจจะไม่มีการนำมาใช้บังคับเป็นเวลานานหรือแม้จะไม่มีกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนั้นๆ เกิดขึ้นก็ตาม ก็ถือว่ากฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับอยู่

            5) กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ

            เพื่อให้บุคคลปฏิบัติตามกฎหมาย ก็จำเป็นที่จะต้องมีสภาพบังคับ ถ้ากฎหมายไม่มีสภาพบังคับประชาชนก็อาจจะไม่เกรงกลัวและไม่ปฏิบัติตาม แต่ถ้าเกิดมีผลร้ายหรือมีการลงโทษก็อาจจะทำให้มีการเกรงกลัวต่อกฎหมายนั้น และในที่สุดก็ต้องปฏิบัติตามแต่คำว่าสภาพบังคับนั้นก็จะมีอยู่หลายประการด้วยกัน ทั้งในทางอาญาและในทางแพ่ง

            สภาพบังคับในทางอาญานั้น ก็มีอยู่หลายอย่าง ในปัจจุบันเรียกว่า โทษ เรียงตามลำดับหนักเบาดังนี้

1.      ประหารชีวิต

2.      จำคุก

3.      กักขัง

4.      ปรับ

5.      ริบทรัพย์สิน





                 บทที่ 2

วิวัฒนาการของกฎหมาย



            การ ศึกษา วิวัฒนาการหรือประวัติศาสตร์ของกฎหมาย จะช่วยให้เราเข้าใจกฎหมายได้ดีขึ้นเพราะในการบัญญัติกฎหมาย ผู้บัญญัติกฎหมายย่อมบัญญัติขึ้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ เพื่อส่งเสริมสิ่งใดสิ่งหนึ่งถ้าได้มีการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายด้วยความ ตั้งใจจริงแล้ว ก็จะเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ออกใช้บังคับในสมัยนั้นๆ ดีว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร

            นอก จากนี้ประเทศไทยของเราได้รับอิทธิพลของระบบกฎหมายต่อประเทศอย่างมาก มีการนำเอาหลักกฎหมายต่างประเทศหลายลักษณะมาใช้ในกฎหมายไทย เราจึงควรศึกษาถึงวิวัฒนาการของกฎหมายต่างประเทศด้วยเพราะจะเป็นแนวทางให้ เราทราบถึงที่มาและเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อหาแนวทางที่จะศึกษาและใช้กฎหมาย ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น


วิวัฒนาการของกฎหมายไทย

            กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลมาจากพระธรรมศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายของอินเดียโบราณ และมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้

            1) กฎหมายสมัยกรุงสุโขทัย

            จากหลักฐานที่ค้นพบในหลักศิลาจารึกทำให้ทราบว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยมีกฎหมายที่ใช้อยู่หลายลักษณะ เช่น กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายปกครองว่าด้วยการยื่นเรื่องราวร้องทุกข์กฎหมายลักษณะทรัพย์และที่ดิน กฎหมายเกี่ยวกับมรดกและกฎหมายวิธีพิจารณาความ ฯลฯ เป็นต้น

            ในช่วงเวลาที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของไทยภาคกลางนั้น ทางลานนาไทยได้เริ่มสร้างอาณาจักรและตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1835 มีการปกครองเป็นอิสระของตนเอง มีพระเจ้ามังรายเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรลานนาไทยกฎหมายที่ใช้ปกครองคือ มังรายศาสตร์ ในมังรายศาสตร์นี้ปรากฏข้อความที่กล่าวถึงพระธรรมศาสตร์ เช่นเดียวกับข้อความในศิลาจารึก สาเหตุที่เรียกว่ามังรายศาสตร์ ก็คือเป็นเพราะพระเจ้ามังราย ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรลานนาไทยได้ทรงโปรดให้จารึกกฎหมายที่ได้ อิทธิพลมาจากพระธรรมศาสตร์รวมกับแนววินิจฉัยของพระองค์ มังรายศาสตร์จึงเป็นกฎหมายที่รวบรวมบทบัญญัติต่างๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา และมีการกำหนดโทษไว้ด้วย เช่น ในทางอาญามีกฎหมายลักษณะวิวาท กฎหมายลักษณะใส่ความ กฎหมายลักษณะลักพากฎหมายลักษณะซ่อน อำและลัก ในทางแพ่งเช่นกฎหมายลักษณะหมั้น กฎหมายลักษณะสมรส กฎหมายลักษณะหย่า กฎหมายลักษณะมรดก กฎหมายลักษณะหนี้เป็นต้น

            2) กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา

            กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยามีลักษณะดังนี้

                        (1) คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไทยเราได้นำเอาหลักพระธรรมศาสตร์มาจากมอญ พระธรรมศาสตร์นี้ถือว่าเป็นประกาศิตจากสวรรค์ซึ่งแสดงถึงสัจธรรมและความเป็นธรรม จึงมีความศักดิ์สิทธิและเป็นอมตะ โดยระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชนมุ่งสร้างบรรทัดฐานแก่ผู้ปกครองที่จะนำไปใช้ในการปกครองพลเมือง

                        (2) พระ ราชศาสตร์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไทยโบราณ ซึ่งได้แก่พระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีของพระมหากษัตริย์ทั้งหลาย ซึ่งเกิดมีขึ้นและสะสมกันต่อๆ มามีจำนวนมากขึ้นเป็นอันมาก โดยหลักการว่าจำต้องสอดคล้องกับพระธรรมศาตร์ด้วยสำหรับเนื้อหาของพระ ราชศาสตร์นั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกฎเกณฑ์แห่งการปฏิบัติราชการกฎมณเทียร บาล กฎเกณฑ์เรื่องที่ดินและสถานภาพบุคคลในสังคม

                        (3) กฎหมายอื่นๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินตราขึ้นใช้บังคับ กฎหมายซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตราขึ้นเพื่อใช้บังคับ เช่น กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ กฎหมายเหล่านี้เรียกชื่อรวมๆ กันว่า พระราชกำหนดบทพระอัยการ หรือพระราชกำหนดกฎหมาย

            3) กฎหมายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระกฎหมาย เพื่อแก้ไขความคลาดเคลื่อนและความไม่ยุติธรรมที่มีอยู่ในกฎหมายเก่ากฎหมายที่ได้ชำระสะสางนี้เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงที่เรียกเช่นนี้เพราะมีประทับตรา คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของสมุหนายก สมุหกลาโหมและโกษาธิบดี ต่อมากลายเป็นตราของกระทรวงมหาดไทย กลาโหมและต่างประเทศตามลำดับ กฎหมายตราสามดวงที่ได้ตรวจชำระใหม่นี้ประกอบด้วยพระธรรมศาสตร์พระราชศาสตร์ นอกจากนี้ยังบรรจุพระราชกำหนดบทพระอัยการไว้ด้วย

            ภายหลังจากที่มีการตรากฎหมายตราสามดวงแล้ว กฎหมายอื่นที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ พระราชบัญญัติบ่อนเบี้ย

วิวัฒนาการของกฎหมายต่างประเทศ

            ระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในโลกปัจจุบันนี้มีที่นิยมใช้อยู่ 4 ระบบใหญ่ๆ คือ

1)      ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ (Civil Law)

2)      ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)

3)      ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)

4)      ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม (Religious and Traditional Law)



1) ระบบกฎหมายซีวิล  ลอว์ (Civil Law)

ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายโรมัน โดยมีนักปราชญ์บางท่านแบ่งระบบการปกครองของอาณาจักรโรมัน ออกเป็น 3 ยุค คือ


(1) ยุคกษัตริย์ (Monarchy) เริ่มตั้งแต่มีการสร้างกรุงโรมในปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชในยุคนี้กฎหมายมาจากกษัตริย์เรียกว่า Lex หรือ Leges แต่มีหลักฐานที่จะให้ความรู้ทางกฎหมายแก่เราน้อยมาก

(2) ยุคสาธารณรัฐ (Republic) อยู่ในปี 510 ก่อนคริสต์ศักราช มีผู้ปกครองหรือประมุขเรียกว่า Consul ในยุคนี้กฎหมายเริ่มพัฒนา มีการบัญญัติกฎหมายสำคัญที่มีชื่อเสียง คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร

            แรงผลักดันให้มีการบัญญัติกฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ชน 2 ฝ่าย คือ Patricians และ Plcbcians

            Patricians เป็นชนชั้นสูง ได้แก่ พวกผู้ปกครองและข้าราชการชั้นสูง

            Plebeians เป็นชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้าวานิช รวมทั้งเชลยศึก คนต่างด้าว และทาสด้วย
 (3) ยุคจักรวรรดิ์ (Empire) ยุคนี้เป็นยุคที่กฎหมายโรมันบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรและบัญญัติขึ้นโดยจักรพรรดิ์โรมัน จักรพรรดิ์จัสติเนียน (Justinian) ได้ทรงโปรดให้มีการรวบรวมเอาจารีตประเพณีของพวกโรมันที่มีการร่างเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมารวบรวมไว้เป็นเล่ม ซึ่งเราเรียกว่าประมวลกฎหมายจัสติเนียน หรือเรียกเป็นภาษาลาตินว่า Corpus Juris Civilis



            2) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)

            ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ มีกำเนิดและวิวัฒนาการมาจากประเทศอังกฤษประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษเดิมเรียกว่า บริเทน” (Britain) ซึ่งเคยถูกปกครองโดยอาณาจักรโรมันมาก่อน เมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมอำนาจลงได้มีชนเผ่าต่างๆ เชื้อสายเยอรมันเข้ามาครอบครองประเทศอังกฤษ ที่สำคัญมีอยู่ 2 เผ่า คือ เผ่าแองเจลส์ (Angles) และเผ่าแซกซ่อน (Saxon) ภายหลังเรียกรวมกันว่า แอลโกลแซกซ่อน (Anglo Saxon) กฎหมายในยุคแองโกลแซกซ่อนเป็นกฎหมายเก่าและไม่เป็นที่รู้จักกันดีเท่าใดนัก ส่วนใหญ่เป็นจารีตประเพณีดั้งเดิมของเผ่าต่างๆ และได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรนับตั้งแต่อังกฤษได้ยอมรับนับถือคริสต์ศาสนาในราวปี ค.ศ. 596 กฎ หมายแองโกลแซกซ่อนเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตของความสัมพันธ์ของ บุคคลในสังคมซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสังคมอังกฤษจากยุคของเผ่าต่างๆ เข้าสู่ยุคศักดินา (Feudal) โดยกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นยังคงใช้บังคับเฉพาะแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีในศาลนั้นมีการพิจารณาคดีโดยการสาบาน (Oat) การทรมาน (Ordeal) และการต่อสู้ (Battle)
            กฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) เป็นกฎหมายที่วิวัฒนาการมาจากการจัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์หรือศาลหลวง (King’s Court) ขึ้น โดยมีการคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้ความสามารถจากส่วนกลางหมุนเวียนออกไปพิจารณาคดีในศาลท้องถิ่นทั่วทุกแคว้น มีการพิจารณาคดีโดยใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) แทนการพิจารณาคดีแบบเดิมในระยะต้นๆ มีปัญหาขัดแย้งในการพิพากษาคดีมากเพราะแต่ละแคว้นก็มีจารีตประเพณีเป็นของตนเอง การใช้กฎหมายบังคับจึงต้องใช้กฎหมายจารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ในระยะต่อมาความขัดแย้งเหล่านี้ ค่อยๆ หมดไปเกิดเป็นจารีตประเพณีที่ถือเป็นหลักเกณฑ์และข้อบังคับที่มีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไปในศาลดังกล่าวข้างต้น ด้วยเหตุนี้กฎหมายคอมมอน ลอว์จึงเริ่มเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ นับแต่นั้นเป็นต้นมา


            การพิจารณาคดีของศาลในศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา จึงได้ใช้กฎหมายคอมมอน ลอว์ คู่กับหลักความยุติธรรม กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นว่าใช้กฎหมายคอมมอน ลอว์ แล้วจะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความแล้วศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำเอาหลักความยุติธรรมมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีได้

            ครั้นต่อมาเมื่อรัฐสภาอังกฤษมีอำนาจมากขึ้น ได้มีการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) ขึ้นใช้บังคับอย่างแพร่หลาย กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ถือว่าเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องและเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายคอมมอน ลอว์ ซึ่งเป็นหลักทั่วไประบบคอมมอน ลอว์ ปัจจุบันมีที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศที่เคยอยู่ในเครือจักรภพ เป็นต้น

            3) ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)

            ระบบกฎหมายสังคมนิยมเกิดขึ้นหลังจากการปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศรัสเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2466) ซึ่ง ก่อนหน้านี้ประเทศรัสเซียมีกฎหมายจัดอยู่ในระบบกฎหมายซีวิล ลอว์แต่หลังจากการปฏิวัติและพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าครองอำนาจการบริหาร ประเทศแล้ว ระบบกฎหมายของประเทศรัศเซียก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปกฎหมายของประเทศรัสเซียใน ยุคหลังการปฏิวัตินี้ แม้จะมีรูปแบบเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่โดยเนื้อหาสาระของตัวบทกฎหมายก็ดี ล้วนแต่นำเอาหลักการใหม่ตามแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนินมาใช้ทั้งสิ้นหลัก การนี้เชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบและกลไกต่างๆ ของสังคม เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันในสังคมและเพื่อคุ้มครองคนในสังคมให้พ้นจากการ กดขี่ข่มเหงของนายทุน กฎหมายจะมีความจำเป็นเพียงชั่วขณะหนึ่งเมื่อสังคมเข้าสู่ระบบคอมมิวนิสต์โดย สมบูรณ์ปราศจากความเหลื่อมล้ำทางฐานะ ปราศจากชนชั้นโดยประชาชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งมวลร่วมกันแล้ว กฎหมายจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแต่เมื่อยังไม่ถึงจุดนี้ความจำเป็นของ กฎหมายจะยังคงมีอยู่

            ลักษณะของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยมมีดังนี้

            (1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่สำคัญที่สุดในประเทศสังคมนิยม ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีอำนาจในการออกกฎหมายลายลักษณ์อักษร ทั้งที่เป็นกฎหมายแม่บทและกฎหมายในลำดับรองทั้งปวง กฎหมายลายลักษณ์อักษรมักจะใช้ถ้อยคำที่สามารถแปลความหมายหรือตีความได้อย่างกว้างขวางและปล่อยทิ้งปัญหาต่างๆ ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ดังนั้นกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับหลักปฏิบัติในการปกครองจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

            (2) จารีต ประเพณี มีบทบาทในการเป็นเครื่องมือช่วยในการตีความกฎหมายและอุดช่องว่างของกฎหมายใน กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งอย่างไรก็ดีจารีต ประเพณีที่นำมาใช้ได้นั้นก็เป็นเพียงส่วนน้อยเพราะตัวบทกฎหมายที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรมักเขียนไว้กว้างๆ ประกอบกับศาลก็มีดุลพินิจในการตีความกฎหมายได้อย่างกว้างขวางอยู่แล้ว

            (3) หลักการและแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนิน หลักการและแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนิน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของการปกครองในระบบสังคมนิยม แนวความคิดและหลักการเหล่านี้ศาลหรือผู้พิพากษามักจะกล่าวอ้างอิงถึงข้อเขียนหรือแนวความคิดของมาร์กซ์และเลนินมาประกอบคำตัดสินเสมอ

            เป็นที่น่าสังเกตว่า คำพิพากษาของศาลในประเทศสังคมนิยม แม้จะไม่ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายโดยตรง แต่ก็มีความสำคัญในแง่ที่เป็นแนวปฏิบัติของศาลที่ควรจะต้องคำนึงถึง ซึ่งแนวความคิดนี้ก็เป็นแนวความคิดเช่นเดียวกับในระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ โดยทั่วไปนั่นเอง

            ในปัจจุบันระบบกฎหมายสังคมนิยมมีใช้อยู่ในประเทศรัสเซีย คิวบา เกาหลีเหนือ ลาว เวียตนาม กัมพูชา จีน และประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก เช่น รูมาเนีย บัลแกเรีย ฮังการี ฯลฯ เป็นต้น

            (4) ระบบกฎหมายศาสนาประเพณีนิยม (Religious and Traditional Law) ศาสนา มีอิทธิพลต่อการร่างกฎหมายของหลายประเทศ มีกลุ่มประเทศจำนวนไม่น้อยที่เอาศาสนาไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจน วิวัฒนาการกลายเป็นกฎหมายศาสนาขึ้นกฎหมายศาสนาที่มีความสำคัญและมีอิทธิพล มากในปัจจุบันคือ  กฎหมายศาสนาอิสลาม กฎหมายศาสนาคริสต์และกฎหมายศาสนาฮินดู เป็นต้น

            กฎหมายศาสนาอิสลามวิวัฒนาการมาจากหลักคำสอนและหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลามซึ่งได้แก่ (1) คัมภีร์โกหร่าน (Koran) หรืออัล-กุรอ่าน ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม

            (2) ซุนนะห์ (Sunna) การปฏิบัติของศาสนา

            (3) อิจมา (Idjma) หลักกฎหมายที่นักปราชญ์ของอิสลามมีมติเอกฉันท์ให้นำมาใช้ในกรณีไม่มีบทบัญญัติในคัมภีร์โกหร่านและซุนนุห์

            (4) อัลอุ้รฟ หรือจารีตประเพณีที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งคัมภีร์โกหร่าน ซุนนะห์หรือิจมา

            (5) กิย้าส (Qiyas) การใช้กฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับในกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง

           

            ปัจจุบันกฎหมายศาสนาอิสลามมีอิทธิพลแพร่หลายไปเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนตะวันออกกลาง เช่นประเทศอียิปต์ ซาอุดิอารเบีย ซีเรีย อิหร่าน อิรัค ฯลฯ เป็นต้น แม้ในประเทศไทยกฎหมายศาสนาอิสลามก็ยังใช้บังคับอยู่ในดินแดน 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คือ จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในจังหวัดดังกล่าวนี้กฎหมายเปิดช่องให้ศาลหยิบยกกฎหมายศาสนาอิสลามในเรื่องครอบครัวและมรดกมาใช้บังคับในบางกรณี

            แต่หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ศาสนาคริสต์และกฎหมายศาสนาคริสต์ เริ่มเสื่อมอำนาจลง ฝ่ายอาณาจักรได้แยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อศาสนาจักร ศาสนาคริสต์มีการแตกแยกออกเป็นหลายนิกาย เนื่องจากมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เช่น นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์ นิกายออร์ธอดอกซ์นิกายเซิร์ท ออฟ อิงแลนด์ ฯลฯ

            ในปัจจุบันศาสนาคริสต์มิได้มีอิทธิพลเาไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนาเหมือนดังเช่นกฎหมายศาสนาอิสลาม หากเป็นแต่เพียงแนวความคิดที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนาเช่นข้อกำหนดห้ามหย่า การห้ามคุมกำเนิดและห้ามทำแท้ง และการห้ามสมรสซ้อน (Bigamy) เป็นต้น

           

บทที่ 3

                                                                               ระบบกฎหมาย

          

            ศาสตราจารย์เรเน่ ดาวิด (Rene David) นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ได้แบ่งระบบกฎหมายออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้



            1. ระบบกฎหมายโรมาโน เยอรมันนิค (Romano Germanic) หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law)

            คำว่า โรมาโนหมายถึงกรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลี ส่วนคำว่าเยอรมันนิค หมายถึง ชาวเยอรมัน ดังนั้นการที่ตั้งชื่อระบบกฎหมายเช่นนี้ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศทั้งสอง เนื่องจากอิตาลีเป็นชาติแรกที่รื้อฟื้นกฎหมายโรมันในอดีตขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ล่มสลายไปพร้อมกับอาณาจักรโรมัน ครั้นศตวรรษที่ 11 ประมาณ ปี ค.ศ. 1110 ประเทศอิตาลีเริ่มมีการพัฒนาประเทศทำให้มีการค้าขายมากขึ้น รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น กฎหมายท้องถิ่นซึ่งเดิมใช้บังคับไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในระบบเศรษฐกิจที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน จึงได้มีการฟื้นฟูกฎหมายโรมัน โดยมีการนำผู้นำมาศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยที่เมือง โบลอกนา (Bologna) ปรากฎว่ากฎหมายโรมันมีบทบัญญัติที่สามารถใช้แก้ปัญหานิติสัมพันธ์ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ และเห็นว่ากฎหมายโรมันใช้ได้และเป็นธรรม ประมวลกฎหมายจัสติเนียนจึงได้ถูกถ่ายทอดให้แก่นักศึกษากฎหมายและรับเอากฎหมายโรมันมาบัญญัติใช้บังคับในเวลาต่อมา เยอรมันเป็นประเทศที่สองได้รับเอากฎหมายโรมันมาใช้เช่นเดียวกับอิตาลี ต่อมาประเทศต่างๆ ในยุโรป ฝรั่งเศส โปรตุเกส ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สเปน สวิส ได้ดำเนินรอยตาม จึงเห็นได้ว่าระบบกฎหมายโรมาโนเยอรมันนิคมีต้นกำเนิดจากประเทศในภาคพื้นยุโรป แต่ปัจจุบันในระบบกฎหมายนี้มีอิทธิพลแผ่ขยายทั่วโลกในทวีปต่างๆ ไม่ว่าทวีปในอเมริกาใต้ เช่นบราซิล เพราะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปตุเกสหรือแม็กซิโก ชิลี เปรู อาร์เจนตินาที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปน แม้กระทั่งประเทศทวีปแอฟริกา เช่น ซาอีร์ โซมาเลีย รวันดา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ก็ได้รับอิทธิพลของระบบกฎหมายโรมาโน เยอรมันนิคทั้งสิ้น รวมทั้งประเทศแถบ

            2. ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)

            บางทานอธิบายความหมายของระบบ Civil Law ว่าเป็นระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ประเทศที่อยู่ระบบ Civil Law เป็นระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่กฎหมายนั้นอยู่ในรูปของแนวปฏิบัติที่เรียกว่าจารีตประเพณี ที่จริงแล้วเมื่อเราศึกษาอย่างละเอียด จะทราบว่าไม่มีประเทศไหนใช้ระบบใดระบบหนึ่ง เช่น ประเทศในระบบ Civil Law ถ้ามีคดีเกิดขึ้นในเฉพาะอย่างยิ่งคดีแพ่งในเรื่องเยวกับสิทธิไปเปิดกฎหมายแล้วไม่มีบัญญัติไว้เลย เมื่อกฎหมายลายลักษณ์อักษรไม่ได้เขียนไว้ก็ต้องเอาจารีตประเพณีมาใช้ ถือว่าเป็นหลักการอุดช่องว่างของกฎหมาย ส่วนประเทศที่อยู่ในระบบ Common Law จริงๆ แล้ว เขามีกฎหมายที่ขีดเขียนเป็นตัวหนังสือเหมือนกันเพราะจารีตประเพณีนั้นใช้ไปนานๆ แล้วจะล้าสมัย ฉะนั้นจารีตที่เอามาใช้นั้นพอเอามาใช้แล้วไม่ยุติธรรมก็เลยต้องแก้ไขโดยการออกกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งในอังกฤษจะเรียกว่า Act แปลว่าพระราชบัญญัติหรือ Stature เพราะอังกฤษก็มีรัฐสภาพ ซึ่งรัฐสภาเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติจะเป็นผู้ออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง แสดงว่าไม่มีประเทศใดใช้ระบบหนึ่งระบบใดแต่เพียงระบบเดียว โดยมากมักจะผสมผสานกันทั้งสองระบบ

            ต้นกำเนิดหรือแม่แบบของ Common Law คือ ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่อยู่แถบยุโรปมีลักษณะเป็นเกาะเมื่อกล่าวถึงอังกฤษเราใช้คำว่า England แต่บางครั้งใช้คำว่า The Great Britain คำว่า Great แปลว่าใหญ่ ส่วน Britain มาจาก Briton ซึ่งเป็นชนเผ่าดั่งเดิมอยู่บนเกาะอังกฤษ

วิชา วิถีไทย


                          ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมไทย

                                                           จำนงค์  แรกพินิจ *
1        แนวคิดสองกระแส
*  อาจารย์  ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ

ให้มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดทิศทางของตนเอง และการปฏิรูปการศึกษา ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของชาวบ้านและชุมชนมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้น การประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ที่กำหนดให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้นำการพัฒนา เหล่านี้ล้วนยืนยันให้เห็นอิทธิพลของแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน

2        พัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทิศทางการพัฒนาประเทศกำลังแพร่หลายในสังคมไทย หรือเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผลจากการปะทะกันของความคิดสองกระแสดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้สังคมไทยมีโอกาสทบทวนแนวคิดและทิศทางการพัฒนาในอดีต แสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมของเรา

การพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเป็นหน้าที่หรืองานของรัฐ กิจกรรมหรืองานพัฒนาในยุคแรกๆเกิดขึ้นบนพื้นฐานการมองประชาชนในฐานะโง่ จน เจ็บ ขาดความรู้เรื่องการทำมาหากิน ล้าหลัง ไม่ทันสมัย และด้อยพัฒนา เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐจึงมีหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือคนเหล่านั้นให้มีความรู้และรายได้เพิ่มขึ้น โดยการฝึกอบรมอาชีพ จัดหาแหล่งทุน และบางครั้งก็ช่วยจัดการด้านการตลาด บทบาทของชาวบ้านเป็นเพียงผู้รับ ส่วนรัฐเป็นผู้ให้ แนวทางการพัฒนานี้ได้กลายเป็นหลักในการทำงานในช่วง 20 ปีแรกของการพัฒนาชนบทไทย คือระหว่าง พ.ศ.2503-2523

แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว แนวคิดในการพัฒนาชนบทไทยจะเปลี่ยนไปบ้าง จากการเน้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชนมาเป็นแนวเศรษฐกิจ-สังคม เพราะเห็นว่าการพัฒนาต้องกะทำควบคู่กันทั้งสองด้าน จึงนำเรื่องกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วิธีทำงานก็ยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิม คือหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กำหนดและมีบทบาทสำคัญเหนือชาวบ้านตลอดมา

ปี พ.ศ.2524 ได้เกิดปรากฎการณ์สำคัญที่นำไปสู่การพลิกโฉมการพัฒนาชนบทไทยในเวลาต่อมา กล่าวคือ องค์กรเอกชน (Non-Government Organization =NGO) ที่ทำงานด้านการพัฒนาชนบทจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันวิเคราะห์งานที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนั้น พร้อมกับตั้งคำถาม 25 ข้อ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆชื่อ ใครพัฒนาใคร คำถามเหล่านี้เกิดจากงานพัฒนาที่ทำไปแล้วได้สร้างปัญหาให้ชาวบ้านมากมาย และวิธีการทำงานก็ยังเป็นแบบเดิม คือการสอน การบอกเล่า การจัดกระบวนการ และช่วยชาวบ้านทำงาน

ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ.2510 องค์กรเอกชนที่ทำงานด้านการพัฒนาชนบทได้เกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือมูลนิธิบูรณะชนบนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมูลนิธินี้ คือ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีองค์กรทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และแคธอลิคต่างได้ทำงานพัฒนาชนบทแนวใหม่มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2508  และได้ก่อตั้งสภาแคธอลิคแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2516 หน่วยงานทั้งสองนี้ได้เป็นแหล่งประสบการณ์ของนักพัฒนาและองค์กรเอกชนพัฒนาชนบทรุ่นต่อๆมา

ผลจาการวิเคราะห์การทำงานและตั้งคำถามตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้นักพัฒนาเอกชนกลุ่มนี้และนักวิชาการจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่อง วัฒนธรรมกับการพัฒนาชนบท เมื่อปลายปี พ.ศ.2524 เพื่อแสวงหาแนวทางให้การพัฒนาตั้งอยู่บนฐานวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งหมายถึงการพิจารณาสภาพที่เป็นจริงของวิถีชีวิตชาวบ้าน ความเป็นมาหรือประวัติศาสตร์ ศักยภาพและพลังที่มีอยู่ในชุมชน

 ที่สำคัญ การสัมมนาในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมกับการพัฒนาไม่ใช้สองสิ่งที่แยกจากกัน แต่เป็นสิ่งเดียวกัน การพัฒนาคือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า นอกจากนั้น ยังเกิดการยอมรับว่าไม่มีใครรู้ปัญหาชาวบ้านดีไปกว่าชาวบ้าน และไม่มีใครแก้ปัญหาชาวบ้านได้ดีกว่าชาวบ้าน ฉะนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้านได้รวมตัวกันแก้ปัญหาของชุมชนจึงเป็นสิ่งจำเป็น

หากวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นข้างต้น จะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้สะท้อนลักษณะที่เป็นสากลและลักษณะเฉพาะของการพัฒนาชนบทไทยไปพร้อมกัน ลักษณะที่เป็นสากลก็คือ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อแนวคิดและทิศทางการพัฒนาของไทยตลอดช่วง 2 ทศวรรษแรกของการพัฒนา หลังจากนั้นการทำงานได้หันเข้าสู่ลักษณะเฉพาะที่ให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมชุมชน การค้นหาประสบการณ์ระดับชุมชน ทำให้เกิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่เกิดจากสภาพที่เป็นจริงของอดีตและปัจจุบันของสังคมไทย และการแสวงหาความร่วมมือจากทุฝ่าย ทั้งหมดนี้เป็นการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีรากฐานอยู่ที่ระบบคุณค่าดั้งเดิม และแสวงหารูปแบบใหม่เพื่อสืบทอดจิตวิญญาณแห่งอดีตและการพึ่งตนเอง

สำหรับองค์กรเอกชนด้านการพัฒนาชนบท การสัมมนาในครั้งนั้นได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับยุทธวิธีในการทำงาน คนเหล่านี้ได้ลงพื้นที่ เข้าหมู่บ้าน ทรรศนะเปิดกว้าง ยอมรับคุณค่า และศักยภาพของชาวบ้าน ส่งผลให้ค้นพบผู้นำที่มีความสามารถ และบางคนได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ชาวบ้าน คนเหล่านี้มีภูมิปัญญาที่ประกอบด้วยภูมิรู้และภูมิธรรม

อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกๆ คำว่าภูมิปัญญาชาวบ้านใช้สื่อความหมายกันในวงนักพัฒนาเอกชนกลุ่มเล็กๆแล้วค่อยกระจายออกสู่หน่วยงานอื่นในเวลาต่อมา

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความสนใจต่อภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นหน่วยงานแรก  ดร.เอกวิทย์  ณ ถลาง ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานแห่งนี้ในขณะนั้นได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และได้จัดการประชุมสัมมนาครั้งสำคัญขึ้น 2 ครั้ง  ครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2533 ในหัวข้อ ภูมิปัญญาชาวบ้าน และครั้งที่สอง จัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2534 ในหัวข้อ ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาชนบท การสัมมนาทั้งสองครั้งนี้เป็นแรงผลักดันสำคัญให้แนวคิดนี้เข้าสู่แนวนโยบายของรัฐ ดังเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) ในส่วนที่ว่าด้วยวัฒนธรรมกับการพัฒนา



3        ความหมายของภูมิปัญญาชาวบ้าน



3.1     การให้ความหมาย  นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง สนใจงานด้านภูมิปัญญาต่างเห็นพ้องต้องกันในการให้ความหมายภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้  ความรู้ และความรอบรู้ในด้านต่างๆของชาวบ้าน และชาวบ้านสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้แก้ปัญหาที่ต้องประสบในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชีวิต ครอบครัว และชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หรือเกิดดุลยภาพในทุกระดับ



3.2     องค์ประกอบ การให้ความหมายดังกล่าวข้างต้น ทำให้สามารถแยกองค์ประกอบของภูมิปัญญาชาวบ้านให้เห็นเด่นชัดขึ้น ดังนี้

1)  องค์ความรู้  หมายถึง ความรู้หลายอย่างมาเชื่อมโยงกันเป็นชุดความรู้  ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมใดของชาวบ้านจะถูกยกให้เป็นกิจกรรมทางภูมิปัญญาก็ต่อเมื่อได้รับการพิสูจน์แล้วว่ากิจกรรมนั้นเกิดจากองค์ความรู้ ไม่ใช่ความรู้เดียว

ตัวอย่าง เกษตรธาตุสี่ ของนายหรน  หมัดหลี  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา  นายหรน  หมัดหลีเริ่มต้นทำการเกษตรจากการรู้จักชีวิตและครอบครัวของตัวเอง ในฐานะเกษตรกรยากจน เขาต้องรู้จักพืชที่ต้องการจะปลูกทุกชนิดเป็นอย่างดี และนำความรู้เหล่านั้นมาวางแผนการเพาะปลูก พืชชนิดใดจะให้ผลภายใน 1 เดือน  3 เดือน  6 เดือน  และ12 เดือน เพื่อให้ครอบครัวมีอาหารและรายได้ตลอดปี

นอกจากนั้น นายหรน  หมัดหลียังมีความรู้เรื่องดิน ก่อนปลูกพืชทุกชนิดต้องมีการทดสอบว่าเหมาะสมกับดินบริเวณนั้นหรือไม่ มีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสังคมของพืช  ความรู้นี้มีพื้นฐานมาจากการร่ำเรียนแพทย์แผนไทย ทำให้เขามองพืชทุกชนิดว่ามีธาตุสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เช่นเดียวกับคน และได้ใช้ความรู้นี้มาวางหลักในการเพาะปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น หลักในการปลูกก็คือการนำพืชที่มีลักษณะตรงข้ามกันมาปลูกในหลุมเดียวกัน เช่น พืชที่มีธาตุน้ำต้องปลูกคู่กับพืชที่มีธาตุไฟ เป็นต้น การปลูกพืชในลักษณะนี้จะไม่ทำให้ต้นไม้แต่ละชนิดส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ต้นไม้แต่ละชนิดต่างให้ดอกผลตามธรรมชาติของมันเอง

นายหรน  หมัดหลี เห็นว่าไม้ผลพันธุ์ดี เช่น ทุเรียนหมอนทองมีราคาแพง คนยากจนไม่มีกำลังซื้อ เขาจึงปลูกทุเรียนพื้นบ้าน ซึ่งมีราคาถูก ทำให้คนจนในชุมชนสามารถซื้อไปบริโภคได้ ตลาดของเขาจึงอยู่ที่หมู่บ้าน ไม่ใช่การส่งออกสู่เมืองใหญ่ หรือต่างประเทศ ตลาดของนายหรน  หมัดหลีจึงเป็นตลาดของคนยากคนจน หวังพึ่งตนเอง ทำให้เขาไม่ตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้า

การเชื่อมโยงความรู้หลายด้านนี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์หรือชุดความรู้ด้านการเกษตรของนายหรน  หมัดหลี ที่เรียกว่า เกษตรกรรมธาตุสี่

2)  เทคนิค หรือวิธีการ หมายถึง กลวิธีหรือการจัดการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ เทคนิคหรือวิธีการจะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทของภูมิปัญญา เช่น เทคนิคการผลิต เทคนิคการจัดการ และเทคนิคการเชื่อมประสานความสัมพันธ์ เป็นต้น

            ตัวอย่าง  จากองค์ความรู้ด้านการเกษตรธาตุสี่ ดังกล่าวแล้วข้างต้น นายหรน  หมัดหลีได้นำมาปฏิบัติผ่านทางเทคนิคหรือวิธีเพาะปลูกพืช  ในช่วงแรก เขาเริ่มปลูกพริก มะเขือ แตงกวา และตะไคร้ จากนั้นจึงปลูกกล้วย และไม้ผลไม้ยืนต้นอื่นๆตามมา โดยเฉพาะไม้ผลไม้ยืนต้น จะปลูกหลุมละ 3 ต้น แต่ละต้นมีธาตุต่างกันตามหลักการเพาะปลูกที่กล่าวข้างต้น นอกจากนั้น นายหรน  หมัดหลียังคำนึงถึงความสูง รูปทรง และลักษณะการให้ดอกออกผลของไม้แต่ละต้นที่นำมาปลูกร่วมกัน

            ในด้านการดูแลหรือบำรุงรักษาต้นไม้ นายหรน  หมัดหลีมีวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น ไม่ถางหญ้าในหน้าแล้ง ใช้ปุ๋ยจากซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย และไม่ตัดแต่งกิ่ง เพราะเชื่อว่าธรรมชาติจะจัดการสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวมันเอง กล่าวคือกิ่งที่อยู่ไม่ได้ ไม่เหมาะสมก็จะร่วงหล่นไปเอง

            ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคหรือวิธีการเพาะปลูกพืช ที่ทำให้สวนของนายหรน หมัดหลีมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากสวนของเกษตรกรอื่นๆ แต่สอดคล้องกับองค์ความรู้ของตนที่สั่งสมมา

3)  การรับใช้ชีวิตในปัจจุบัน  ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ใช่เรื่องเล่าในอดีต ไม่ใช่ของเก่าที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งที่มีตัวตน และผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรับใช้วิถีชีวิตผู้คนในปัจจุบัน หรือมีพลังในสังคมยุคใหม่

การทำการเกษตรแบบธาตุสี่ของนายหรน  หมัดหลีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าครอบครัวของเขามีอาหาร มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสียลูกจำนวน 11 คนให้ได้รับการศึกษาอย่างถึง และเกือบทั้งหมดเรียนจบระดับอุดมศึกษา  และการเกษตรแบบนี้ยังได้กลายเป็นตัวแบบหรือแบบอย่างที่ดีที่เกษตรกรทั่วประเทศเดินทางมาเรียนรู้อย่างไม่ขาดสาย

การพิจารณาองค์ประกอบของภูมิปัญญาชาวบ้าน ในฐานะความรู้ที่กล่าวนี้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านน่าจะเป็นคำเดียวกับเทคโนโลยีชาวบ้าน เพราะเทคโนโลยีได้รวมเอาความรู้และเทคนิคไว้ด้วยกัน เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ไม้สอยเพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การหมักปลาร้าในภาคอีสาน น้ำปูในภาคเหนือ และน้ำบูดูในภาคใต้ต่างเป็นภูมิปัญญาและเทคโนโลยีในตัวมันเอง



          3.3  ประเภทของภูมิปัญญาชาวบ้าน ในฐานะของความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1)  ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เป็นนามธรรม ได้แก่ โลกทัศน์และชีวทัศน์ เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คุณค่าและความหมายของทุกสิ่งในชีวิตประจำวัน

2)   ภูมิปัญญาชาบ้านที่เป็นรูปธรรม หรือแบบแผนความประพฤติปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะด้าน เช่น การทำมาหากิน การเกษตร หัตถกรรม ศิลปะและอื่นๆ



3.3  ภูมิปัญญาชาวบ้านเชิงกระบวนการ  นอกจากการพิจารณาภูมิปัญญาชาวบ้านในฐานะความรู้แล้ว อีกแง่หนึ่งสามารถพิจารณาได้ในเชิงกระบวนการ ซึ่งจะสอดคล้องกับสภาวะของภูมิปัญญาที่มีลักษณะเลื่อนไหล หรือพลวัตสูง ไม่หยุดนิ่งตายตัว และมีพัฒนาการตลอดเวลา

การพิจารณาภูมิปัญญาชาวบ้านเชิงกระบวนการนี้ ควรเริ่มต้นวิเคราะห์ให้เห็นการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมสองกระแส กระแสแรกคือ วัฒนธรรมหรือแนวคิดเก่า ซึ่งเป็นสภาวะที่ดำรงอยู่ในขณะนั้น และการเข้ามาของวัฒนธรรมหรือแนวคิดใหม่ ซึ่งจะมีลักษณะขัดแย้งกัน การปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมหรือสภาวะทั้งสองกระสนี้จะนำไปสู่การปรับตัวของชาวบ้านเพื่อความอยู่รอด ผลจากการปรับตัวนี้จะนำไปสู่กระแสที่สาม หรือกระแสทางเลือก อันเป็นผลจากการสังเคราะห์วัฒนธรรมสองกระแสเข้าด้วยกัน กระแสที่สามหรือกระแสทางเลือกนี้จะช่วยลดความขัดแย้งและลดการกวัดแกว่งในวิถีชีวิตของผู้คน เกิดความราบรื่นในการดำเนินชีวิต ซึ่งรวมถึงการสืบทอดวัฒนธรรมหรือคุณค่าของสังคมให้ดำรงต่อไป

ตัวอย่าง  การใช้แรงงานของชาวบ้านในจังหวัดสงขลา ที่ได้พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนแรงงานของตนขึ้น เพื่อรองรับการเข้ามาของระบบเกษตรกรรมแบบใหม่

ในอดีต ชาวบ้านในภาคใต้มีวัฒนธรรม-ประเพณีอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงาน คือการออกปาก-กินวาน ซึ่งเทียบได้กับการลงแขกในภาคกลาง เอามื้อในภาคเหนือ และเอาแฮงในภาคอีสาน การออกปาก-กินวานก็คือ การขอแรงหรือออกปากหรือวานให้เพื่อนบ้านมาช่วยทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนให้เสร็จทันเวลา เมื่อออกปากหรือวานคนอื่นมาช่วยงาน เจ้าของงานหรือเจ้าภาพหรือผู้ออกปากจะต้องจัดเตรียมอาหารคาวหวานไว้เลี้ยงดูผู้ที่มาช่วยงาน ทำให้เกิดคำซ้อนขึ้นมาอีกคำคือ กินวาน  แรงงานจากการออกปาก-กินวานนี้จะใช้เกือบทุกโอกาส เช่น งานในเรือกสวน ไร่ นา การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และงานประเพณี-พิธีกรรมต่างๆที่ถูกกำหนดด้วยเวลา เป็นต้น

ต่อมาเมื่อชาวบ้านในภาคใต้ โดยเฉพาะชาวสวนยางพาราต้องต้อนรับการเข้ามาของวัฒนธรรมใหม่ คือระบบเกษตรกรรมแบบพืชเดี่ยว หรือการทำสวนยางพันธุ์ดี ที่ต้องใช้แรงงานแบบเข้มข้น โดยมีระบบแรงงานใหม่ คือการจ้างงาน ซึ่งเป็นระบบการแลกเปลี่ยนแบบต่างตอบแทน โดยใช้หลักเหตุและผลทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นตัวกำหนด เข้ามาเป็นฐานรองรับการทำสวนยางแบบใหม่

การปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมเก่าและใหม่นี้ ได้ก่อปัญหาให้แก่ชาวบ้านหรือเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ เพราะระบบแรงงานแบบเดิม คือออกปาก-กินวานไม่สามารถรองรับการใช้แรงงานแบบเข้มข้นในสวนยางพันธุ์ดี ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่เข้าสู่ระบบจ้างแรงงาน จึงก่อให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน

ในกรณีจังหวัดสงขลา ชาวบ้านหรือเกษตรกรชาวสวนยางจำนวนมากได้พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนแรงงานใหม่ขึ้น เรียกว่า แชร์แรงงาน หรือลงพรรค หรือทำ-พัก ซึ่งเป็นระบบแรงงานรวมหมู่ ที่ยังคงคุณค่าเดิมของแรงงานระบบเก่า คือการพึ่งพาอาศัยกัน และผสมผสานด้วยคุณค่าใหม่ของระบบจ้างงาน คือการแลกเปลี่ยนแรงงานในหน่วยหรือปริมาณที่เท่าเทียมกัน เช่น จำนวนชั่วโมงเท่ากัน ผู้แลกเปลี่ยนแรงงานอยู่ในวัยไล่เลี่ยกันเพราะมีแรงงานไม่แตกต่างกันมากนัก ดั่งนี้เป็นต้น  กระบวนการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนแรงงานใหม่ สามารถแสดงให้เห็นด้วยแผนภาพดังต่อไปนี้

                                               
                กล่องข้อความ: ภูมิปัญญาชาวบ้าน
                                กล่องข้อความ: รูปแบบแรงงานใหม่ แชร์แรงงาน ลงพรรค ทำ-พัก

          

                กล่องข้อความ: วัฒนธรรมใหม่ (จ้างงาน)



ในแง่นี้ ภูมิปัญญาชาวบ้านจึงอยู่ในฐานะกระบวนการที่ก่อให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเก่าและใหม่ และมองว่าความรู้ ซึ่งแสดงออกผ่านรูปแบบกิจกรรมเป็นผลผลิตของกระบวนการภูมิปัญญา  คำถามในการวิเคราะห์ภูมิปัญญาชาวบ้านเชิงกระบวนการจึงอยู่ที่กระบวนการแบบไหนหรืออย่างไร จึงก่อให้เกิดความรู้และกิจกรรมแบบนั้น ไม่ใช่วิเคราะห์ที่ตัวความรู้หรือรูปแบบกิจกรรมกิจกรรม

เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งก็จะพบว่า กระบวนการภูมิปัญญา หรือกระบวนการที่ก่อให้เกิดการผสมผสานดังกล่าวข้างต้นน่าจะเป็นสิ่งเดียวกับกระบวนการเรียนรู้ เพราะกระบวนการเรียนรู้เป็นเหตุให้เกิดความรู้และรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุนี้กระบวนการภูมิปัญญากับกระบวนการเรียนรู้จึงมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน



4        ลักษณะของภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งในฐานะความรู้และกระบวนการจะมีลักษณะโดยรวม ดังนี้

1)      เป็นรวมที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ เทคนิค และมีพลังในสังคมปัจจุบัน

2)  แสดงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

3)      เป็นองค์รวม หรือเชื่อมโยงกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต

4)  เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

5)      เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต และเป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

6)      มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับสมดุลในการพัฒนาทางสังคมตลอดเวลา

7)      มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ในตัวเอง



5        ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน

1)      ความรู้เดิมในเรื่องนั้นๆ ผสมผสานกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ

2)      การสั่งสมและการสืบทอดความเรื่องในเรื่องนั้นๆ

3)      ประสบการณ์เดิมที่สามารถเทียบเคียงกับเหตุการณ์หรือประสบการณ์ใหม่

4)      สถานการณ์ที่ไม่มั่นคง หรือมีปัญหาที่ยังหาทางออกไม่ได้

5)      รากฐานทางพระพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นๆที่ผู้คนยึดถือ









6   การประยุกต์ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมไทย

1) นามธรรมและรูปธรรม ดังได้กล่าวแล้วตอนต้นแล้วว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านมีทั้งลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมสามารถแยกย่อยยออกได้อีกหลายประเภท ทั้งทางด้านเกษตรกร หัตถกรรม สุขภาพ แลอื่นๆ กล่าวง่ายๆก็คือ ภูมิปัญญาชาวบ้านมีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ในความหลากหลายนั้นมีจุดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ คุณค่าที่อยู่เบื้องหลังภูมิปัญญานั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยเฉพาะโลกทัศน์และชีวะทัศน์ของผู้คนและชุมชน เช่น ดุลยภาพของธรรมชาติและการอยู่ร่วมกันในชุมชน  การพึ่งตนเอง และการพึ่งพาอาศัยกัน เป็นต้น

โดยทั่วไป รูปแบบ ซึ่งเป็นเทคนิคหรือวิธีการจัดการจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่เปลี่ยนแปลงช้าหรือแทบจะไม่เปลี่ยนเลยคือ คุณค่าของภูมิปัญญานั้น ด้วยเหตุนี้ การประยุกต์ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาชุมชนจึงมุ่งไปสู่รูปแบบหรือวิธีการจัดการที่สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันก็พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาหรือคงคุณค่าเดิมไว้ให้มากที่สุด

ตัวอย่างแชร์แรงงาน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนแรงงานของชาวบ้านในชุมชนในจังหวัดสงขลาที่กล่าวแล้วข้างต้น สามารถนำมาแสดงให้เห็นรายละเอียดในการประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ดังนี้



                      นามธรรม                              รูปธรรม/กิจกรรม                           ลักษณะเด่น

                       (คุณค่า)                            (แบบแผนพฤติกรรม)   



เก่า                 การพึ่งพาอาศัยกัน                      ออกปาก-กินวาน                 ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน      

…………………………………………………………………………………………………………………………………………..       

ใหม่                ความมีเหตุผลเชิงเศรษฐกิจ              การจ้างงาน                     มูลค่าของสิ่งของเป็น

                                                                                                            ตัวกำหนดการแลกเปลี่ยน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………..                                                      

การประยุกต์     การพึ่งพาอาศัยกัน                       แชร์แรงงาน                  ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และคำนึงถึง

                                                                   ลงพรรค,ทำ-พัก                   มูลค่าของสิ่งของที่นำมาแลกเปลี่ยน 





เห็นได้ว่า แม้รูปแบบการแลกเปลี่ยนแรงงานจะเปลี่ยนไป แต่คุณค่าดั้งเดิมของการพึ่งพาอาศัยกันยังคงอยู่ และที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตยุคใหม่มากขึ้น คือการนำเอาหลักเหตุและผลเชิงเศรษฐกิจ หรือความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยนเข้าผสมผสานกับคุณค่าเดิม  ในเชิงเปรียบเทียบ ชุมชนที่ไม่สามารถประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านการแลกเปลี่ยนแรงงานได้ ก็จะสูญเสียระบบการแลกเปลี่ยนแบบเดิม คือออกปาก-กินวาน และนำระบบจ้างงานเข้ามาแทนที่ ซึ่งชุมชนในลักษณะนี้ก็มีจำนวนมากในจังหวัดสงขลา



อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่สามารถชี้ให้เห็นการประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านในลักษณะที่กล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี ได้แก่กรณีหัตถกรรมเชือกกล้วย ที่ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ตำบลคูเต่า ตั้งอยู่ติดทะเลสาบสงขลา เป็นชุมชนที่ปลูกกล้วยตานี หรือกล้วยพังลา ซึ่งเป็นกล้วยพื้นเมืองชนิดหนึ่งในภาคใต้ ชาวบ้านไม่นิยมบริโภคผลเพราะมีเมล็ดมาก แต่จะใช้ใบห่อสิ่งของและขนมเพราะมีความเหนียวและเป็นมัน และนำกาบหรือส่วนที่เป็นต้นกล้วยมาผ่าออกเป็นเส้น ตากแดดให้แห้งสำหรับทำเชือกผูกของ เนื่องจากตำบลนี้อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองหาดใหญ่ ชาวบ้านในอดีตจึงนำผลผลิตดังกล่าวจากกล้วยตานีหรือกล้วยพังลาไปขายในตัวเมือง

ต่อเมื่อความก้าวหน้าทางวัตถุมีมากขึ้น การบรรจุหีบห่อสินค้าในตลาดได้เปลี่ยนจากการใช้เชือกผูกมัดมาเป็นถุงพลาสติก หรือใช้เชือกจากเส้นใยสังเคราะห์แทน ทำให้เชือกกล้วยกล้วยตานีหรือกล้วยพังลาหมดบทบาท ไม่มีการซื้อขาย ผู้ปลูกกล้วยชนิดนี้จึงมีรายได้ลดลง

การนำเชือกกล้วยมาจักสานเป็นภาชนะต่างๆ ทั้งกระเป๋าถือ กระเป๋าสะพาย รวมไปถึงตะกร้าบรรจุสิ่งของสำหรับใช้สอยในครัวเรือนจึงเกิดขึ้น ชาวบ้านตำบลคูเต่าได้เรียนรู้เทคนิคด้านการจักสานจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน และจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายหน่วยงาน จนสามารถพัฒนาเครื่องจักสานจากเชือกกล้วยของตนให้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงระดับประเทศ

นับเป็นความพยายามของชาวบ้านตำบลคูเต่าที่พัฒนาหรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้แก่คนในชุมชน เป็นการฟื้นฟูคุณค่าของเชือกกล้วยตานีหรือกล้วยพังลาให้กลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

2)  คุณค่าและมูลค่า  การประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้าน นอกจากมองในแง่นามธรรมและรูปธรรมแล้ว อีกแง่มุมหนึ่งสามารถนำเอาแนวคิดเรื่องคุณค่าและมูลค่าเข้ามาเป็นแนวทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมของเราในระยะที่เพิ่งผ่านมานี้จะมีความขัดแย้งกันค่อนข้างรุนแรงระหว่างแนวคิดสองแนวนี้

ภายหลังจากที่เราได้นำแนวคิดการพัฒนาตามแบบอย่างชาติทางตะวันตกมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้น พร้อมกับนิยมมูลค่าหรือให้ความสำคัญต่อสิ่งต่างในเชิงปริมาณก็เพิ่มมากตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้คนในสังคมของเราอีกจำนวนหนึ่งที่ยึดถือหรือนิยมคุณค่า ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณ และรากเหง้าของตนเอง  ด้วยเหตุนี้ วิวาทะที่เกิดขึ้นในสังคมของเรา จึงมักเกี่ยวข้องกับความนิยมสองแบบที่ว่านี้

การนำคุณค่าและมูลค่ามาเป็นแนวทางประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม จะเป็นการแก้จุดอ่อนอย่างหนึ่งในสังคมไทย ซึ่งเก่งเรื่องคุณค่า แต่ไม่เก่งเรื่องมูลค่าให้หันกลับมาสร้างความสมดุลให้กับแนวคิดทั้งสอง เพื่อสร้างดุลยภาพแก่ชีวิต ชุมชน และธรรมชาติให้ยั่งยืนสืบไป

ในที่นี้จะให้ข้อสังเกตว่า การประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านตามแนวคิดเรื่องคุณค่าและมูลค่านี้ น่าจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น หัตถกรรม สมุนไพร การนวด และศิลปะต่างๆ รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าและพร้อมที่แปรเป็นมูลค่าถ้ามีการจัดการที่เหมาะสมัย

เห็นได้ว่าหัตถกรรมประเภทต่างๆจำนวนมากในปัจจุบันที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม เพราะมีสิ่งอื่นเข้ามาทดแทน แต่ยังคงมีการผลิต มีจัดการใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนอรรถประโยชน์ของวัตถุสิ่งของเหล่านั้น จากภาชนะใช้สอยในครัวเรือนมาเป็นเครื่องตกแต่งบ้าน ได้ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ผลิต และสร้างเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับสมุนไพร การนวด และการดูแลสุขภาพแบบไทย รวมถึงสถานบริการสุขภาพที่เรียกว่า สปา นี่คือคุณค่าเก่าที่การจัดการในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้เกิดมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี

ข้อถกเถียงที่อาจถือว่าเป็นวิวาทะยอดนิยมอย่างหนึ่งในสังคมของเรา คือการปรับปรุงหรือปรับรื้ออาคาร สถาปัตยกรรมเก่า แต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ได้ส่งผลให้ผู้คนแตกความคิดเป็นสองกลุ่มเสมอมา กลุ่มแรก ถือว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการทำลายจิตวิญญาณ สิ่งมีคุณค่าเช่นนี้ควรจะต้องหวงแหนและรักษาไว้สำหรับคนรุ่นหลัง กลุ่มที่สอง ให้การสนับสนุน เพราะเห็นว่าการปรับรื้อและการสร้างใหม่จะก่อให้เกิดมูลค่า เช่น อาคารเก่าหลังหนึ่ง ขนาด 4X8 ตารางเมตร มีเนื้อที่ใช้สอย 32 ตารางเมตร ถ้ารื้อออกแล้วสร้างอาคาร 4 ชั้นแทนก็ได้ได้พื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 32X4=128 ตารางเมตร นั่นคือมูลค่าจะมากกว่าเดิม การสนับสนุนของกลุ่มที่สองนี้ ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่เห็นความสำคัญของคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่พวกเขาไม่สามารถตอบได้ว่าคุณค่าเหล่านั้นจะแปรเป็นมูลค่าได้อย่างไรถ้าไม่ทุบทิ้งแล้วก่อสร้างอาคารสมัยใหม่ และดูเหมือนว่าพวกเขาก็ไม่ได้รับคำตอบนี้จากกลุ่มแรกเช่นกัน

ในช่วงหลัง ข้อขัดแย้งหรือวิวาทะนี้มีทางออกมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสังคมของเรามีประสบการณ์มากขึ้น ถนนคนเดิน จึง เกิดขึ้นในย่านเมืองเก่าหลายเมือง เพื่อให้เกิดการค้าขาย การท่องเที่ยว คุณค่าเดิมจึงได้แปรมาเป็นมูลค่า ส่งผลให้สถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งสามารถ ดำรงอยู่ต่อไป

การนำแนวคิดเรื่องคุณค่าและมูลค่ามาเป็นแนวทางประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการพัฒนาชุมชนและสังคม น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมยุคหลังสมัยใหม่ ผู้คนร้องหาจิตวิญญาณและวัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านจำนวนมากในชุมชนสามารถนำมาประยุกต์ในแนวทางนี้ได้ทั้งสิ้น







 7  กรณีศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้าน

          พัฒนาการ ของภูมิปัญญาชาวบ้านในช่วงที่ผ่านมานี้ ได้ก่อให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า ประยุกต์ และพัฒนาภูมิปัญญาด้านต่างๆขึ้นมากมาย ภูมิปัญญาเหล่านี้ถ้าอยู่ในระดับบุคคลหรือปัจเจกบุคคลจะเรียกว่าภูมิปัญญา ชาวบ้าน ระดับกลุ่ม/องค์กร หรือชุมชน และเครือข่ายจะเรียกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบทุกภูมิภาคของประเทศไทย สำหรับภูมิปัญญาของสังคมของเรานั้นจะเรียกว่าภูมิปัญญาไทย ในที่นี้จะนำภูมิปัญญาชาวบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแสดงให้เห็นพอเป็นตัวอย่างเท่านั้น

1) ระดับบุคคลหรือหรือผู้รู้ ในที่นี้จะยกกรณีศึกษาภูมิปัญญาด้านการเกษตร โดยศึกษาเฉพาะกรณีและเปรียบเทียบ ประกอบด้วยวนเกษตรของผู้ใหญ่วิบูลย์  เข็มเฉลิม เกษตรธาตุสี่ ของนายหรน  หมัดหลี  สังคมวนเกษตร ของนายเคียง  คงแก้ว และเกษตรผสมผสาน ของนายฉันท์  สิทธิฤทธิ์

2) ระดับกลุ่ม/องค์กร หรือชุมชน ประกอบด้วยกรณีศึกษา กลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิตตำบลน้ำขาว (ครูชบ  ยอดแก้ว) อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ธนาคารชีวิตกลุ่มวัดอู่ตะเภาและวัดดอน (พระครูพิพัฒนโชติ) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียง (นายประยงค์  รณรงค์) ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

3) ระดับเครือข่าย  ประกอบด้วยกรณีศึกษา เครือข่ายอินแปง อำเภอกุดบาด จังหวัดสกลนคร สมาคมฟื้นฟูหมู่บ้านชนบทจังหวัดสงขลา บริษัทเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช และเครือข่ายภูมิปัญญาไทย



8        ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่ภูมิปัญญาไทย

การให้ความหมายภูมิปัญญาชาวบ้านในฐานะกระบวนการดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ให้เห็นการเติบโตและการพัฒนาของภูมิปัญญาชาวบ้านเข้าสู่ภูมิปัญญาไทย หรือจากระดับชุมชนสู่ระดับชาติ กระบวนการภูมิปัญญา ซึ่งในที่นี้ใช้ในความหมายเดียวกับกระบวนการเรียนรู้ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในทุกส่วนของประเทศ กำลังเติบโต และประสานพลังเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ผู้คน ชุมชน และสังคมไทย

นับจากปี พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นปีแรกที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) เป็นต้นมา รัฐบาลในขณะนั้นได้พยายามผลักดันนโยบายพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ความทันสมัย ขณะที่ประชาชนและชุมชนยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่วิบูลย์  เข็มเฉลิม ได้วิเคราะห์สภาพชุมชนและเกษตรกรในยุคนั้นว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯเกิดขึ้นในภาวะที่ชุมชนและเกษตรกรไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่โง่หรือล้าหลัง แต่ไม่รู้จะเปลี่ยนไปทำไม เพราะขณะนั้นชุมชนมีเศรษฐกิจพอเพียง ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ และระบบความสัมพันธ์แบบแบ่งปันทำให้คนในยุคนั้นมีชีวิตไม่เดือดร้อน   ผู้ใหญ่วิบูลย์  เข็มเฉลิมย้ำว่า คนในภาคเกษตรไม่พร้อม ผมเองก็ไม่พร้อม ไม่สามารถรองรับวิถีชีวิตจากนโยบาย แต่ต้องทำตามสั่งเรื่อยมา อาศัยเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา เขาฝึกให้รู้จักขอ สุดท้ายใช้วิธีประท้วง อย่างไรก็ตาม ผลจากการใช้นโยบายของรัฐ ทำให้เกษตรกรและชุมชนต้องรับสิ่งใหม่ๆที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาเพียงไม่กี่สิบปีหลังจากนั้นระบบการผลิต ความสัมพันธ์ และคุณค่าต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ถูกทำลายลงจนยากที่จะฟื้นฟูให้ได้ดังเดิม

ในช่วง 20 กว่าปีมานี้ เกษตรกรและชุมชนได้ปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่าความสัมพันธ์ใหม่กับภายนอกทำให้ตนเสียเปรียบ การเรียนรู้ใหม่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มสร้างองค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้านเพื่อจัดความสัมพันธ์ใหม่กับภายนอก จัดการทรัพยากรใหม่ และสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะทำให้ชุมชนอยู่รอดและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมชุมชน

กระบวนการภูมิปัญญาชาวบ้าน  เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบลองถูกลองผิด หรือทำไปเรียนไป ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในชุมชนจำนวนมาก หัวใจของการเรียนรู้แบบนี้อยู่ที่การปฏิบัติ โดยเฉพาะชุมชนที่ได้พัฒนาการเรียนรู้มาแล้วระดับหนึ่ง และมองไม่เห็นทางออกภายใต้ระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมในขณะนั้น ชุมชนต้องการสิ่งใหม่หรือทางเลือกใหม่  ต้องการความรู้ใหม่ เมื่อไม่มีหน่วยงานหรือองค์ใดตอบสนองได้ชุมชนจึงต้องสร้างกิจกรรม เรียนรู้จากกิจกรรม และสรุปประสบการณ์ออกมาเป็นความรู้ใหม่ ระบบการจัดการใหม่ที่จะช่วยให้ชุมชนหลุดพ้นจากการครอบงำของระบบเก่า

ชุมชนไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้เรียนรู้ระบบการผลิตและการจัดการยางพาราใหม่ผ่านประสบการณ์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียง จนไม้เรียงกลายเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมชุมชน เป็นโรงเรียนให้กลุ่มเกษตรกรและชุมชนชาวสวนยางทั่วประเทศได้เรียนรู้และฝึกฝน  ที่สำคัญประสบการณ์ชุดนี้ได้กลายเป็นนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนายางพาราของรัฐบาลในขณะนั้น ส่งผลให้เกิดโรงงานแปรรูปยางพารากระจายไปทุกจังหวัดที่ปลูกยาง ดังรายละเอียดที่กล่าวแล้วในกรณีศึกษาข้างต้น

ความสำเร็จและประสบการณ์เกี่ยวกับยางพาราในช่วงที่ผ่านมา ชุมชนไม้เรียงค่อนข้างมั่นใจว่าสามารถรับมือหรือจัดการกับปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับยางพาราได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม นับจากการก่อตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2537 เป็นเวลา 10 ปีที่การดำเนินงานอุตสาหกรรมชุมชนของไม้เรียงเป็นไปอย่างราบรื่น เต็มไปด้วยความหวัง และอนาคตที่สดใสรออยู่เบื้องหน้า แต่ในปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา ราคายางพาราเริ่มตกต่ำ ผันผวน จนเรียกได้ว่าขาดเสถียรภาพ อันเป็นผลมาจากภาวะตลาดโลกและระบบการจัดการภายในประเทศ ส่งผลให้การดำเนินงานของโรงงานแปรรูปยางพาราต้องประสบปัญหาตลอดมา จนกระทั่งเศรษฐกิจของประเทศต้องประสบกับภาวะวิกฤต

ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี พ.ศ.2540 ส่งผลให้ชุมชนต้องปรับการเรียนรู้ใหม่ เพราะบทเรียนที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ชุมชนไม่อาจควบคุมได้ กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้ประเทศต้องเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการเปิดเสรีทางการลงทุนที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ จะมีส่วนอย่างมากต่อการคงอยู่หรือล่มสลายของชุมชนในอนาคต การเรียนรู้จึงพัฒนาขึ้นอีกก้าวหนึ่งเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป นั่นคือการเรียนรู้เพื่อเท่าทันโลกภายนอก

กรณีชุมชนไม้เรียง บทเรียนที่ได้รับจากสถานการณ์ยางพาราในช่วงที่เพิ่งผ่านมาก็คือ ข้อสรุปที่ว่าชุมชนไม่สามารถพึ่งพายางพาราเพียงอย่างเดียว ส่วนทางออกจะเป็นอย่างไรนั้น คำตอบอยู่ที่กระบวนการภูมิปัญญาหรือกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง  เป็นองค์กรชุมชนของตำบลไม้เรียง ตั้งขึ้นเพื่อศึกษาและวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนี้ ศูนย์แห่งนี้เริ่มต้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้นำชุมชนจากหมู่บ้านต่างๆจำนวน 8 หมู่บ้านในตำบลของตน หมู่บ้านละ 5 คน รวม 40 คน โดยกำหนดให้มีเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างผู้นำชุมชนเหล่านี้อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ต่อมาเวทีนี้ได้พัฒนาขึ้นเป็นสภาผู้นำชุมชนไม้เรียงในราวปี พ.ศ.2535 การพบปะกันในแต่ละครั้ง ผู้นำชุมชนจากหมู่บ้านต่างๆจะนำเอาสิ่งที่ตนเองเห็นว่าเป็นปัญหามาพูดคุยกัน นานเข้าการพูดคุยแบบนี้ก็ถึงทางตัน เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาหรือหาทางออกได้ เพราะไม่มีใครมีข้อมูลมากพอที่จะวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดของปัญหา

            ปัญหาหนึ่งที่สมาชิกของสภาแห่งนี้มักจะหยิบยกมาพูดคุยเป็นประจำ คือชาวบ้านตำบลไม้เรียงมีหนี้สินมาก ซึ่งทุกคนเห็นด้วย แต่เมื่อถามว่าเป็นหนี้มากเท่าไร ก็ไม่มีใครตอบได้ นี่คือที่มาของการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของสภาผู้นำชุมชนไม้เรียงในเวลาต่อมา โดยให้ผู้นำชุมชนจากหมู่บ้านต่างๆสำรวจและเก็บข้อมูลหนี้สินของชาวบ้าน และนำข้อมูลที่ได้กลับมาพูดคุยกันในการพบปะกันครั้งต่อไป

            การ ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ จากการพูดคุย บอกเล่าประสบการณ์มาสู่การเรียนรู้บนฐานข้อมูล ได้ช่วยให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงมองเห็นแนวทางในการวางแผนพัฒนา เพื่อให้ชุมชนของตนหลุดพ้นจากการพึ่งพายางพาราเพียงอย่างเดียว

            กระบวน การเรียนรู้ที่อยู่บนฐานข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปวางแผนพัฒนาและแก้ปัญหาเพื่อให้ชุมชนของตน หลุดพ้นจากการพึ่งพานอกที่ชุมชนไม้เรียงเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาขึ้นนี้ รู้จักกันต่อมาว่า แผนแม่บทชุมชน และกลายเป็นประเด็นหลักของการวางแผนพัฒนาชุมชนในระดับชาติในทุกวันนี้  หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ด้านการวางแผนและพัฒนา โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ถือเอาการทำแผนแม่บทชุมชน หรือที่หน่วยงานนี้เรียกว่าแผนชุมชน เป็นภารกิจเร่งด่วนที่ทุกตำบลต้องทำให้เสร็จภายใน 3 ปี แผนแม่บทชุมชน ซึ่งเป็นผลผลิตของกระบวนการภูมิปัญญาชาวบ้านหรือกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่ม ต้นจากชุมชน และพัฒนาขึ้นเป็นกลไกระดับชาติและเป็นความหวังที่จะใช้กลไกตัวนี้เป็น เครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าในสังคมไทย



            ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่า แผนแม่บทชุมชนเป็นผลผลิตของกระบวนการภูมิปัญญาชาวบ้านหรือกระบวนการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้การจัดทำแผนแม่บทชุมชนชนจึงต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้และบริหารกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ ประสบการณ์ในเรื่องนี้ของชุมชนไม้เรียงช่วยให้สรุปได้ว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนฐานข้อมูลข้อเท็จจริงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน การบริหารจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลต้องสอดคล้องกับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ได้ข้อมูลถูกต้องตามความเป็นจริง เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

            ความสำเร็จของตำบลไม้เรียงในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากข้อมูลและข้อเท็จจริงนำไปสู่การเสนอแนวคิดวิสาหกิจชุมชน ซึ่งหมายถึงการประกอบการที่ตั้งอยู่บนฐานทุน ความรู้ ทรัพยากรธรรมชาติ และผลผลิตของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เป็นระบบ ครบวงจร และแนวคิดนี้เองที่ส่งผลให้ชุมชนไม้เรียงได้นำเอาปัจจัยดังกล่าวข้างต้น มาสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเป้าหมายเพื่อกินเพื่อใช้ในชุมชนเป็นอันดับแรก ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าสินค้าจากภายนอก และลดการไหลออกของเงิน จนชุมชนไม้เรียงก้าวเข้าสู่  8 ชุมชน 8 ผลิตภัณฑ์

            นอกจากการนำเสนอแนวคิดเรื่องแผนแม่บทชุมชนแล้ว แนวคิดเรื่องวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ก็ได้รับการพัฒนาที่ชุมชนไม้เรียง จนกระทั่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าวิสาหกิจชุมชนเป็นการประกอบการที่มีปรัชญา แนวคิด และการจัดการหรือความสัมพันธ์แบบหนึ่งที่ต่างไปจากเศรษฐกิจกระแสหลักหรือทุนนิยม ต่างจากวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs ซึ่งเป็นการย่อส่วนทุนนิยมเข้าสู่ชุมชน ไม่มีเอกลักษณ์หรือชุดความรู้ของตนเองที่จะพิสูจน์ให้เห็นความต่างจากเศรษฐกิจกระแสหลักนอกจากขนาดที่ไม่เท่ากันกัน

            ถึงวันนี้ วิสาหกิจชุมชนไม่เพียงจะเป็นนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคมชุมชนเท่านั้น แต่แนวคิดเหล่านี้ได้กลายเป็นร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ………. ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และผ่านการพิจารณาในวาระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว

            ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นศักยภาพของภูมิปัญญาชาวบ้าน ถ้าได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้ถูกทางก็จะแสดงพลังออกมาแก้ปัญหาให้ชุมชนและสังคมได้ในที่สุด



9        บทบาทของภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชุมชนและสังคมไทย

9.1  ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชุมชน  ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมานี้ ภูมิปัญญาชาวบ้านได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะชุมชนชนบท ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา สามารถสรุปได้ดังนี้

1) ภูมิปัญญาชาวบ้านก่อให้เกิดการประยุกต์วัฒนธรรมชุมชนเพื่อการพัฒนาชนบท จุดเด่นอย่างหนึ่งของภูมิปัญญาชาวบ้านคือ การให้ความสำคัญต่อคุณค่าซึ่งเป็นนามธรรม ไม่ยึดติดกับรูปแบบ ส่งผลให้ภูมิปัญญาชาวบ้านมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ผู้คนและชุมชนในชนบทจึงได้นำจุดเด่นนี้มาประยุกต์วัฒนธรรมชุมชน โดยเฉพาะการประยุกต์ประเพณี-พิธีกรรมต่างๆ เช่น การสืบชะตาแม่น้ำ การบวชป่า และผ้าป่าพันธุ์ไม้  เป็นต้น การประยุกต์ประเพณี-พิธีกรรมเหล่านี้ช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนค่อยๆฟื้นตัวขึ้น และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างคนกับธรรมชาติ เป็นความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน ไม่ใช่การควบคุมหรือเอาชนะธรรมชาติอย่างที่ผ่านมา

2)  ภูมิปัญญาชาวบ้านก่อให้เกิดกลไกใหม่ทางสังคมวัฒนธรรม แม้ว่าการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดความเจริญทางวัตถุมากมาย ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น แต่อีกด้านของความก้าวหน้านี้กลับส่งผลให้ผู้คนและชุมชนถูกตัดออกจากกัน

สังคมชุมชนในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และการพึ่งพาอาศัยกันอย่างในอดีต หรือการช่วยเหลือกันโดยตรงแบบให้พี่ปันน้อง ซึ่งเป็นกลไกทางสังคมวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมได้คลายพลังลงไปมากแล้ว ชุมชนจึงได้สร้าง กลุ่มหรือองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นกลไกใหม่ที่ช่วยให้คนในชุมชนหันกลับมาพึ่งพาอาศัยกันอีกครั้งหนึ่ง

กลุ่มหรือองค์กรชุมชนและเครือข่าย นับเป็นกลไกใหม่ทางสังคมวัฒนธรรมที่เป็นทั้งผลผลิตและกระบวนการของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนและชุมชนในปัจจุบัน

3) ภูมิปัญญาชาวบ้านก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สถาบันของชุมชน  พัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้านในช่วง 20 กว่าปีมานี้ ได้ส่งผลต่อการสร้างสรรค์สถาบันใหม่ของชุมชน ที่สำคัญมีดังนี้

สถาบันการเรียนรู้ ในช่วงที่ชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาการพัฒนาและหมดหนทางแก้ไข ชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาได้พยายามแสวงหาทางออก โดยการรวมตัวเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ขึ้นในชุมชนต่างๆ บางชุมชนสามารถรักษาและพัฒนาความสัมพันธ์นี้ให้ต่อเนื่องและมั่นคงจนมีภาวะเป็นสถาบัน


           

4) ภูมิปัญญาชาวบ้านก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของสังคมชุมชน   การพัฒนาประเทศตามแนวคิดเดิมได้ก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในชุมชน ยิ่งความเจริญทางด้านวัตถุมีมากเท่าใด ผู้คนก็จะถูกตัดขาดจากกันทางสังคมมากเท่านั้น การปรากฏตัวของภูมิปัญญาชาวบ้านได้ฉุดดึงให้ผู้คนที่แยกจากกันนี้ให้หันหน้าเข้าหากันอีกครั้งหนึ่ง

เห็นได้ว่าบทบาทของภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งในด้านการประยุกต์วัฒนธรรมชุมชนเพื่อการพัฒนา การสร้างกลไกลใหม่ทางสังคมวัฒนธรรม และการสร้างสรรค์สถาบันของชุมชนดังที่ได้กล่าวข้างต้น ต่างมีส่วนอย่างมากต่อการสร้างเป็นปึกแผ่นให้สังคมชุมชน กระทั่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เพิ่งผ่านมา ประชาชนจำนวนมากที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจในภาคเมืองต่างคืนสู่ชนบทหรือภาคเกษตร ซึ่งชุมชนได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถรองรับคนเหล่านี้ไว้ได้ ปัญหาทางสังคมที่เป็นผลมาจากวิกตเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทยจึงไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศทางอเมริการใต้หรือละตินอเมริการที่ประสบปัญหาเดียวกันไทย

            5)  ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นรากฐานทางการผลิต และเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชนและสังคมไทย  ภูมิปัญญาชาวบ้านในฐานะความรู้หรือเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ทั้งการเกษตร การแปรรูป การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการทุน และการตลาด และภูมิปัญญาชาวบ้านในฐานะกระบวนการหรือการเรียนรู้ ล้วนเป็นพื้นฐานการผลิต เสริมสร้างรายได้ และการมีงานทำของคนในชุมชน